-
โลภะ
|
|
-
ได้มีจิตอันหนึ่งเกิดขึ้นบอกให้ทราบว่า
โลภะ
โทสะ
โมหะ
ทั้งสามชนิดนั่นเอง แล้วก็มืดไปหมดไม่รู้ว่าจะละอย่างไร ได้หันหน้าเข้า
ต่อสมาธิต่อไป
เพื่อจะละจากความโลภให้ได้
อาตมาได้พยายามอยู่ถึงสี่เดือน
ก็ยังไม่พบทาง ไม่รู้ว่าเขาละกันด้วยวิธีใด
เพราะเหตุว่าอาตมามิได้เรียนทางปริยัติมาเลย ทั้งนี้เพราะอาจารย์กรรมฐานท่านห้ามไว้ไม่ให้เรียน
ไม่ให้ท่องบ่นเพราะการเรียน
การท่อง
การจำ
ทางตา
ทางหู
ทางอายตนะ
เป็นความรู้ที่เป็นสัญญาอุปาทานเป็นนิวรณ์เป็นอริแก่การปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
เพราะพระธรรม หรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า
พระธรรมานุภาพ
ท่านจะไม่มาบังเกิด
ไม่มาประจักษ์ให้ผู้ปฏิบัติเห็น
ท่านสอนไว้เช่นนี้
|
|
-
อาตมาได้พยายามพิจารณาอยู่ในองค์สมาธิต่อไป
จนถึงเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นวันสิ้นเดือนพอดี ขณะนั้นจิตของอาตมาสงบระงับดีมาก
เป็นเวลาใกล้รุ่งอรุณแต่ยังไม่สว่าง
ได้เกิดแสงสว่างเป็นรัศมีสีเหลืองนวลพุ่งขึ้น จึงมองเห็นสภาพขององค์พระธรรม
ท่านเสด็จมาประทับยืนอยู่ตรงหน้าของอาตมา
มองดูท่านไม่ชัดเจนนัก
เพราะมีหมอกมัวบางๆ
กั้นไว้
อาตมาก็ทราบได้ทันที
เพราะท่านเคยเสด็จมาแล้วเมื่อสี่ปีก่อน
ท่านประทับอยู่อย่างเดิมเหมือนกับครั้งแรก พระหัตถ์เบื้องขวางอพับขึ้นในท่าประทานพร พระหัตถ์เบื้องซ้ายห้อยลงแนบกับพระวรกาย พระองค์ท่านได้ประทานพระโอวาทขึ้นว่า
|
|
-
ท่านๆ
ท่านจะละความโลภหรือ
ถ้าท่านจะละโลภะ
ให้ท่านละความอยากเสียนะ พระองค์ได้ตรัสขึ้นแล้ว
อาตมาได้พิจารณาตามพระดำรัสของท่านต่อไป
จึงทราบความจริงว่า
พระพุทธเจ้าท่านมีพุทธประสงค์ให้ผู้ปฏิบัติมีความสันโดษยินดี
ไม่มีความทะยานอยากในสิ่งซึ่งไม่จำเป็น
นอกจากศีลธรรมแล้ว เราผู้ปฏิบัติต้องละทิ้งปล่อยวางให้หมด แม้แต่สรีระร่างกายก็ไม่มีจิตที่จะนึกอยากเข้าไปยึดถือผูกพัน
เพราะอะไร
เพราะสิ่งทั้งหลายในโลกนี้
ล้วนเป็นอนิจจัง
ทุกขัง
อนัตตา
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอน
ให้ละความอยากเสีย
ละความอยากในทางกามารมณ์ต่างๆ
เช่น
อยากได้รูปสวย เสียงไพเราะ
กลิ่นหอม
รสอร่อย
เครื่องสัมผัสที่อบอุ่น
นิ่มนวล
แล้วก็ยึดถือว่าเป็นของตน
ความทะยานอยากเป็นรากเหง้า
หรือต้นเหตุแห่งความโลภ
ซึ่งจะนำความทุกข์ทั้งปวงมาให้ในภายหลัง
ถ้าจิตของเรา ละความอยากเสียได้
ไม่เข้าไปติดรูปนาม
ไม่มีเชื้อเหลืออยู่
ความเกิดที่เป็นภัยก็ไม่มี
ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป
ถ้ายังอยากเกิดให้มีเยื่อมีใยไว้
ถ้าอยากเกิดที่ดี
ก็ให้ยึดอารมณ์ดี
ถ้าอยากเกิดที่เลว
ก็ให้ยึดอารมณ์ชั่ว
ถ้าวางเสียได้
ไม่อยู่กับเหตุกับผล
เมื่อเราปล่อยเหตุปล่อยผลเสียแล้ว
เราก็ไม่มีเกิด
ไม่มีตาย
พ้นจากความท่องเที่ยววนเวียน
จิตเราก็ไม่ติดไม่ข้องอยู่ในอารมณ์ของโลก
ไม่ข้องอยู่ในสังสารวัฏอีกต่อไป
|
|
-
-
พออาตมาได้พิจารณาได้ดังนี้แล้ว
พระธรรมานุภาพท่านก็ค่อยๆ
เสด็จจางหายไปในอากาศ
|
|