-
สัจจะคือความโสสุด
|
|
-
สัจจะคือความโสสุด
อันนี้เป็นทางออกจากตัณหาแห่งทุกข์ทั้งปวง
คิดแล้วเบาจิตเป็นนิจจัง
อันนี้พ้นทุกข์ได้
คิดแล้วหนักจิตเป็นอนิจจัง
อันนี้เกิดเป็นทุกข์อยู่เนืองนิจ
ให้คิดสิ่งที่เบาน้อมเข้ามาสู่จิตใจไว้
ทางที่เบาเป็นทางสุดหยุดแล้วไม่มีต่อ
พอแล้วไม่แสวงหา
อันนี้เป็นทางพระอรหันต์
ท่านเหล่าใดชายหญิงทุก
ๆ
ท่านรู้แล้วให้เดินตาม
เป็นทางสายเอก
วิเวกเป็นที่สุดอันนี้เรียกว่าทางเข้าสู่พระนิพพาน
ไปด้วยสัจจะโสสุด
จิตท่านเหล่าใดเข้าสู่โสสุดแล้วจะพ้นจากวิบัติทั้งปวง
โสสุดนี้อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นความตายอย่างนี้หาไม่
โสสุดนี้เป็นธรรมที่ยอดเยี่ยมเป็นธรรมที่วิเศษของมนุษย์ที่จะปฏิบัติตามไปได้ทุกขณะ
ไม่ว่าท่านชายและท่านหญิง
จงระวังคนในไม่ให้ออก
คนนอกไม่ให้เข้า
ถึงจะเบาจิต
อย่านำเอาความคิดเรื่องนอกศีลและธรรม
มันทำให้จิตเกิดเป็นทุกข์โดยไม่รู้สึกตัว
ประเดี๋ยวพวกจิตประชาชนจะว่าเกิดโรคเส้นประสาท
เพราะความที่ตนนึกผิดคิดผิด
วิปริตวิปลาสโดยตนขาดจากสตินั่นเอง
ไปเพ่งเล็งผู้อื่นเขา
อันนี้เป็นของหนักยักษ์ร้ายกลายกินตนเอง
ให้คิดเดินตามทาง
ให้เดินตามในระหว่างอุเบกขา
ไม่ช้าไม่นานก็จะถึงที่โสสุด
อย่าไปยึดที่หาเรื่องจะเกิดเป็นทุกข์
อย่าคิดว่าเป็นของสนุกอันที่อยู่ในกามตัณหาสามโลกธรรมแปดประการ
มันเป็นบ้านของเมืองนรก
ตกอยู่ในความหนักร้อยกัปพันกัป
รู้แล้วให้ละ
ให้เคารพตั้งแต่พระ
ให้ชนะหมู่มาร
อย่าเป็นตาลปลายด้วนไม่มีผล
ให้คิดแสวงหาเอาสิ่งที่เบา
เอามาสะสมไว้มาก
ๆ
เมื่อเราจะจากภพนี้ไป
สิ่งที่เบานี้จะพาเราข้ามฟากจากสมุทัยแหล่งทุกข์ทั้งปวง
มิได้ติดบ่วงมารที่เขาดักไว้
รอดไปได้เพราะความเบาที่โสสุด
สิ่งที่เบานั้นก็คือศีล
สมาธิ ปัญญา
ของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านตรัสบอกไว้ว่าเป็นของเบา
ให้รีบพากันสะสมไว้
เมื่อเราจะได้เพราะความโสสุด
เพราะความนักไม่เอา
ของหนักเลิกละแล้วไม่ใยดี
นี้เป็นทางหนีเข้าสู่พระนิพพาน
ท่านอาจารย์ท่านเดินทางนี้ถึงไม่มีความทุกข์รู้แล้วให้บอกกันไม่ว่าท่านชายและท่านหญิง
คำว่าโสสุดจิตหยุดแล้ว
ละโลภ โกรธ
หลงแห่งกามตัณหาได้อย่างสิ้นเชิง
ถึงได้เรียกว่าโสสุด
คือหยุดแล้วนั่นเอง
|
|
-
ดูก่อนท่านทั้งหลายคือภิกษุ
สามเณร ชี
พราหมณ์ อุบาสก
อุบาสิกา
ชายหญิงทุก ๆ
ท่าน
จงทราบตามพุทธบัญญัติกันบ้าง
ตามพุทธบัญญัติท่านตรัสไว้
ผู้บรรลุธรรมเหล่าใดก็ดีหรือบรรลุดวงตาเห็นธรรมก็ดี
หรือบรรลุโสดาบัน
หรือบรรลุสกิทาคามี
อนาคามี
หรือบรรลุอรหัต
อรหันต์อันใด ๆ
ก็ดี
ท่านอย่าไปถือว่าตนได้ธรรมขั้นนั้น
ขั้นนี้
ชั้นนี้หารู้ได้ไม่
การบรรลุธรรมพิเศษนี้มิใช่ว่าเราได้
อย่าไปเชื่อบุคคลที่เห็นผิด
ที่ล่อลวงเพื่อสะสมแห่งกามด้วยโลกธรรม
เพื่อนำเอาทรัพย์มาบำเรอตนและผู้อื่น
ใช้คำสรรเสริญเยินยอมาล่อลวงว่า
ท่านได้อย่างนั้นได้อย่างนี้
การบรรลุที่กล่าวมานี้มิใช่ว่าได้
เป็นการผู้ปฏิบัติที่จะนำจิตเข้าสู่ถึงซึ่งพระธรรมพระวินัย
ศีล สมาธิ
ปัญญา
วิปัสสนาญาณ
หรือฌานสมาบัติ
หรือสมถะอันใด
ๆ ก็ดี
ตามพุทธบัญญัติมาแล้วนั้น
ผู้บรรลุคือผู้ปฏิบัตินำจิตของตนเองเข้าถึงซึ่งพระธรรมแล้วนั้นแหละเรียกว่าบรรลุ
มิใช่ว่าได้ธรรมขั้นนั้น
ขั้นนี้หารู้ได้ไม่
ผู้ปฏิบัติบรรลุเข้าถึงพระธรรมไตรสรณาคมน์แล้ว
จะพึงรู้จำเพาะตน
และจำแนกธรรมในการปฏิบัติตามพุทธบัญญัติได้ไม่มีการสงสัยในธรรมทั้งปวงอีกแล้ว
อย่างนี้แหละถึงจะเป็นผู้บรรลุเข้าถึงธรรมทั้งปวงผู้บรรลุธรรมนั้น
มิใช่ท่องบ่นจำได้
โดยเฉพาะศีลธรรมอกงามแล้ว
ก็บังเกิดมรรคผลต่าง
ๆ
ในปัจจุบันทันตาของมนุษย์ในปัจจุบันนี้ด้วย
|
|
-
สิ่งอันใดเราได้
สิ่งอันใดเรามี
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ทั้งปวง
|
|
-
สิ่งอันใดเราไม่ได้
สิ่งอันใดเราไม่มี
ธรรมเหล่านี้เป็นสุขอย่ายิ่ง
|
|
-
ดูก่อนภิกษุ
สามเณร ชี
พราหมณ์ อุบาสก
อุบาสิกานักปราชญ์ทั้งหลาย
|
|
-
1. ให้หมู่ท่านพึงรู้ฟ้าสูง
แผ่นดินต่ำกันบ้าง
อันนี้เป็นพระปรมัตถธรรม
|
|
-
2.
ให้หมู่ท่านพึงรู้ว่า
ป้ากับลุงคนไหนเป็นพี่เป็นน้อง
ให้หมู่ท่านพึงรู้ว่าฆ้องพระตีทำไม
อันนี้เป็นพระสูตร
|
|
-
3.
ให้หมู่ท่านพึงรู้ว่า
ไฟอย่านำเอาออกมาใช้
ให้หมู่ท่านใช้ความรู้เอาแสงสว่างไฟทั้งปวง
อันนี้เป็นพระวินัย
|
|
-
4.
ให้หมู่ท่านรู้ว่าบ่วงอย่าเอามาผูกคอตนเอง
อันนี้เป็นปัญญาพระกัณฑ์ไตรปิฎก
|
|
-
ขอให้หมู่ท่านผู้ปฏิบัติพิจารณา
ให้รู้ ให้เห็น
ให้แจ้ง
ให้สว่างในธรรม
4 ข้อนี้
ให้ละออกได้แล้วถึงจะรู้ความจริงในสิ่งทั้งปวง
มันเป็นทุกข์หรือมันเป็นสุข
จะรู้แจ้งด้วยตนเองแม้แต่จะมีผู้บอกหรือแนะนำให้
หรือจะสอนจะท่องบ่นจำเอาได้ก็ตาม
คงไม่รู้แจ้งแห่งธรรมเว้นไว้แต่ผู้ปฏิบัติตามศีลและธรรมเท่านั้น
จะรู้แจ้งเห็นจริงเป็นสิ่งอัศจรรย์ที่บังเกิดขึ้นในตนเองถ้ารู้แล้วจะปฏิบัติตามได้ทั้งโลกและธรรม
โลกมนุษย์นี้จะเป็นสุขอย่างยิ่ง
ที่มนุษย์เราให้เกิดความเดือดร้อนด้วยตนเองและผู้อื่นอยู่นั้น
ก็เพราะตนยังไม่รู้แจ้งในธรรม
4
ข้อที่กล่าวมานี้ให้พิจารณาให้เกิดให้มีขึ้นในตนและจิตใจทุก
ๆ ท่าน
จะได้มีความสุขกันบ้าง
ผู้ปฏิบัติรู้แล้วก็จะออกจากตัณหาอาสวะ
สิ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้โดยง่าย
ๆ
|
|
-
อนึ่งผู้เชื่อมั่นแล้วในพระพุทธ
พระธรรม
พระอริยะสงฆ์
อย่างแท้จริง
และปฏิบัติตามท่านเหล่านั้นจะเห็นพุทธานุภาพ
ธรรมานุภาพ
สังฆานุภาพ
อย่างแท้จริง
ท่านเหล่าใดว่าตนเชื่อมั่นแล้วทำไมไม่เห็น
อย่างนี้ก็เพราะตนยังไม่ละสักกายทิฐิ
แห่งกามตนและผู้อื่น
และละวัตถุกามยังไม่ได้
จะไปเห็นท่านได้อย่างไร
ผู้ปฏิบัติจะไปเห็นได้ก็เพียงรูปธรรมกายเท่านั้น
เห็นได้เพราะสัญญาที่สว่างเท่านั้น
เพราะผู้ปฏิบัติยังไม่ได้บรรลุเข้าถึงนิมิตอย่างแท้จริงตามพุทธบัญญัติ
บางท่านปฏิบัติขาดจากสติแต่สัมปชัญญะรู้ตัวอยู่
แต่วิปริตเกิดขึ้นโดยไม่รู้ว่าวิปริต
ไปหาคาดคะเนเอาว่าเป็นนิมิตสาม
ตามพุทธบัญญัติอย่างนี้ก็มีมาก
โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
เลยพลาดกันไปทั้งหมด
เพราะขาดจากความพิจารณาจากศีล
สมาธิ ปัญญา
ไม่รู้ในทางวิถีของสมถะตามพุทธบัญญัติ
เลยโลก เลยธรรม
เลยจากทางพุทธบัญญัติ
สวรรค์นิพพานไปหมด
เลยเป็นผู้ยกตนข่มท่านด้วยอกุศลจิต
ผลิตกรรมให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง
ด้วยธรรมที่ตนจำได้หมายรู้อุปาทาน
หาว่าหว่านพืชผล
เลยไม่ได้รับประโยชน์
เลยเป็นโทษแก่ตนเอง
อันนี้ยากลำบากเป็นหนักหนา
เพราะวาจากับใจไม่ตรงกัน
เพราะความรู้ไม่เท่าทันกับตัณหานั่นเองความรู้น้อยให้ค่อยประคองจิต
ให้รู้เท่าตัณหาที่มีอยู่ในตนนั้นเสียก่อน
อย่าเพิ่งร้อนใจอยากจะขยายธรรมอย่างนี้ไม่มีผล
แต่ตนของตนก็ยังไม่รู้ว่าเราอยู่เพราะอะไร
อยู่ในกองไฟกิเลสกามหรือวัตถุกาม
อย่างนี้ให้ฟังกันบ้าง
หรืออยู่ในน้ำแห่งศีล
จิตดิ้นรนหรือไม่
ออกจากกามได้หรือยัง
สิ่งเหล่านี้ควรรู้ไว้เป็นสายทาง
เป็นทางเดินของผู้ปฏิบัติชายหญิงทุกท่าน
ให้ดูบ้านของตนเอง
กายสังขารนี้เป็นที่ชอบของมนุษย์ทั่ว
ๆ ไป
ถ้าท่านเหล่าใดยังละออกไม่ได้
อย่าไปกล่าวประมาทว่าไม่ดี
เราหนียังไม่ได้
เปรียบเหมือนเอาไฟมาเผาบ้านตนเอง
กลายเป็นผู้ประมาทกายตนและผู้อื่น
สิ่งรื่นรมย์ก็คือกายของมนุษย์และสัตว์นั่นเอง
นอกจากนี้ไม่มี
เพราะมันเป็นสิ่งปรารถนาของมนุษย์และสัตว์
ที่ผู้มีกามโหดร้ายอยู่
ผู้ยังออกไม่ได้ไม่ควรไปกล่าวประมาท
เพราะตนยังปราศจากไม่ได้
ไม่ควรพูดว่าไม่ดี
ให้ตนปราศจากได้เสียก่อน
จึงแสดงแจ้งเหตุผล
ให้ปุถุชนทราบว่าเป็นอสุภะ
ความเบื่อหน่ายอย่างนี้
ถึงมีเหตุผลแห่งตนและผู้อื่นนะท่านทั้งหลายชายหญิงทุก
ๆ ท่าน
บ้านของตนอย่าเพิ่งไปประมาท
มันจะขาดจากศีลและธรรมความว่าเบื่อหน่ายนั้น
มิใช่โกรธเคืองหรือรังเกียจ
หรือมิใช่เป็นสิ่งไม่พอใจของตนอย่างนี้หาได้ไม่
ความอันว่าที่มันเกิดขึ้นในแห่งจิตทั้งหลายนั้น
มันคอยจะจากความกำหนัดเป็นสิ่งสัมผัสถูกต้องกายตนและผู้อื่น
ไม่เยื่อใยในเรื่องเสพกาม
และไม่มีส่งเสริมแก่ท่านเหล่าอื่นทั้งทางกาย
วาจา ใจ
แต่ผู้อื่นท่านพูดกัน
ก็มิอยากได้ยินเลย
เพราะความบีฑาเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ปฏิบัติชายหญิงต้องเป็นอย่างนี้ที่กล่าวมานี้ทุก
ๆ ท่าน
ไม่มีเสื่อมคลายจากศีลและธรรมไปได้
ไม่ยอมละจากเพศพรหมจรรย์ไปได้
ถ้าถูกมีผู้บังคับให้ออกจากศีลและธรรม
เพื่อให้เข้าสู่คฤหัสถ์
ให้ตายเสียดีกว่าอยู่
จิตผู้ใดเกิดบีฑาญาณเบื่อหน่ายแล้ว
ต้องเป็นอย่างที่กล่าวมานี้นะท่าน
|
|
-
|
ปราชญ์สรรเสริญ
|
ว่าธรรมเป็นล้ำเลิศ
|
|
|
สุดประเสริฐ
|
กว่าทรัพย์ทั้งน้อยใหญ่
|
|
|
ธรรมคุ้มผู้
|
ประพฤติเป็นธรรมไซร้
|
|
|
คงต้องได้
|
ผลงามตามตำรา
|
|
|
|
|
|
คุณวุฒิ
|
คุณธรรมสำคัญนัก
|
|
|
วุฒิเป็นหลัก
|
ธรรมเป็นแหล่งแต่งศักดิ์ศรี
|
|
|
คุณวุฒิ
|
สุดล้ำธรรมไม่มี
|
|
|
ก็เอาดี
|
ไปไม่รอดตลอดชนม์
|
|
|
|
|