-
ทุกขสัจจ์
คือความทุกข์ของสัตว์โลกมีห้าอย่าง
|
|
-
เพื่อต้องการให้ผู้ปฏิบัติทราบถึงแห่งของทุกขสัจจ์เหล่านี้
ว่ามีอะไร
อยู่ที่ไหน
เกิดขึ้นอย่างไร
หากเราไม่ทำความรู้จักกับมันให้ดีเสียก่อนแล้ว
ก็ไม่รู้ว่าเราจะดับทุกข์ที่ไหน
และดับได้อย่างไร
คงรู้แต่เพียงชื่อเท่านั้น
บางท่านเข้าใจผิด
คิดว่าอยู่ที่ผู้อื่น
คือเพศตรงข้าม
หญิงก็ชี้ไปว่าชาย
ชายก็ชี้ไปว่าหญิง
หาว่าเป็นตัวทุกข์ตัวตัณหา
ตัวอย่างนี้เขาเรียกว่า
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
หรือความรู้เต็มตัวออกไปหาครอบครัวกับชาวบ้าน
|
|
-
ทุกขสัจจ์ทั้งห้านี้
ล้วนเป็นเครื่องผันแปรเวียนว่ายตายเกิด
ทำให้หลงวนเวียน
เกิด ตาย
ไม่มีที่สิ้นสุด
อาตมาก็เคยเป็นมาแล้ว
รู้แล้ว
เห็นแล้ว
ถูกมันครอบงำมาแล้ว
ขณะเกิดทุกข์ขึ้นมา
มันก็ทุกข์อยู่มีที่ตัวเรา
ขณะใดเกิดสุข
ก็ตัวเรานั่นแหละเป็นผู้เสวยสุข
เพราะมันเป็นทางเดินของสัตว์
เรียกว่า
มรรคสัตว์
ผู้ปฏิบัติจงตรวจดู
มีดังนี้
|
|
-
|
1.
ชอบรัก
|
|
|
2.
ชอบใคร่
|
|
|
3.
ชอบกำหนัด
|
|
|
4.
ชอบสัมผัส
|
|
|
5.
ชอบยินดีสัมผัสในกาม
|
|
|
|
-
ห้าอย่างนี้
เป็นความทะยานอยาก
รากแก้วเหล่ากอของสัตว์โลกทั้งหลาย
ที่มีประจำอยู่ทุกตัวคน
ให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาดูในตนของตน
ตรวจค้นดูว่าการชอบรัก
ชอบใคร่
ชอบกำหนัด
ชอบสัมผัส
ชอบสัมผัสยินดีในกามเหล่านี้
มันอยู่ที่ไหน
มีลักษณะอย่างไรบ้าง
เมื่อตรวจค้นดูแล้ว
เห็นแล้ว
พบแล้ว
|
|
-
ถ้าเจอรัก
ก็ให้เว้นจากความรักนั้นเสีย
ให้ดับสิ่งที่เห็นนั้นเสีย
ถ้าเจอความใคร่
ให้ปราศจากความใคร่นั้นเสีย
ให้ดับความใคร่ที่เจอนั้นเสีย
ถ้าพบความกำหนัด
ให้ปราศจากความกำหนัดนั้นเสีย
ให้ดับสิ่งที่เห็นนั้นเสีย
ถ้าเจอสัมผัส
ให้ปราศจากสัมผัสนั้นเสีย
ให้ดับสิ่งที่เห็นนั้นเสีย
ถ้าเจอยินดีสัมผัสในกาม
ให้เว้นเสีย
ให้ปราศจากความยินดีสัมผัสในกามนั้นเสีย
ให้ดับสิ่งที่พบที่เห็นนั้นเสีย
|
|
-
ผู้ทำเพียรที่ไม่ต้องการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งสาม
มุ่งหน้าปฏิบัติสู่ทางพระนิพพานให้ทำการพิจารณาในทุกขสัจจ์ทั้งห้าประการ
เพราะมันทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องเกิด
แก่ เจ็บ ตาย
หากเราดับทุกขสัจจ์ทั้งห้าได้แล้ว
ก็จะไม่ต้องเวียนว่ายอีกต่อไป
จงมองให้รู้
ดูให้เห็นมันคืออะไรกันแน่
รู้แล้วดับเสีย
ทำให้แจ้ง
ทำให้สว่าง
เพราะเป็นหนทางที่จะหนีออกจากวัฏฏะถ้าเราไม่ทำตามสายนี้
คงมีหวังพ้นได้ยาก
|
|