-
ธรรมให้รู้ความร้อนและความเย็น
|
|
-
ข้อ 1.
โลภะอัคคี
โทสะอัคคี
โมหะอัคคี
แปลว่าเป็นไฟเผาผลาญมนุษย์และสัตว์ได้
|
|
-
ข้อ 2. อโลภะ
อโทสะ อโมหะ
แปลว่า ไฟไม่มี
มีแต่ความโลภ
ความโกรธ
ความหลง
อยู่เป็นเครื่องนำจิตใจของมนุษย์และสัตว์ให้เห็นว่ามรรคเป็นทางให้เห็นชอบ
เป็นสิ่งเวียนว่ายเกิดตายอยู่ในภพทั้งสามนี้
จะหาทางสิ้นสุดลงมิได้แต่อย่างใด
|
|
-
ข้อที่หนึ่ง
โลภะอัคคี
โทสะอัคคี
โมหะอัคคี
ไฟจะอยู่ได้เพราะความร้อนนั้นเอง
|
|
-
ข้อที่สอง
อโลภะ อโทสะ
อโมหะ
ความเย็นจะอยู่ได้เพราะความชุ่มชื่นนั้นเอง
|
|
-
โลภ โกรธ หลง
ที่จะอยู่ได้เพราะความอยาก
1. ความหึงหวง 1.
ความกลัว 1.
ธรรมที่กล่าวมานี้เป็นสภาวะ
ธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดมา
ก็ต้องมีสภาวะเหล่านี้เป็นเครื่องประกอบอยู่ในภพทั้งสามนี้
เว้นแต่จิตใจเราทุก
ๆ
ท่านไม่มาเกิดในร่างกายของสังขารมนุษย์และสัตว์
เท่านั้น
ถึงจะไม่มีสภาวะโลภ
โกรธ หลง
สิ่งที่มาทำให้จิตใจของเราท่านมาปฏิสนธิ
เป็นมนุษย์และสัตว์นั้นก็
คือ
จิตใจเราไปยึดมั่น
ถือมั่นเป็นอุปาทานในสภาวะนั้น
ๆ
ไม่ยอมปล่อยวาง
ท่านเรียกว่า
กาม คือ
อุปาทานนั้นเอง
อุปาทานนี้นึกที่ไหนไปที่นั้น
ติดที่ไหนเกิดที่นั่น
ผู้ปฏิบัติทั้งหลายให้ละเว้นปราศจาก
ส่งคืน
อย่าอาลัยในสิ่งสภาวะแห่งกามนั้นเสีย
ให้ระลึกเอาพระพุทธ
พระธรรม พระอริยสงฆ์
ด้วยอุปาทานว่าเป็นสรณะที่พึ่ง
สิ่งใดๆจะยิ่งกว่าย่อมไม่มีให้ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
อุปาทานนี้ให้ยึดเอาสิ่งที่ไม่มีเชื้อเกิดอีก
ไม่มีเอานิพพานอย่างเดียว
จงทำนิพพานให้แจ้งเถิด
อุปาทานแปลว่าความยึดมั่นถือมั่นนั้นเอง
ยึดทางไหนไปทางนั้นติดที่นั้น
|
|