-
ต่อไปนี้เป็นพุทธศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้า
|
|
-
พระพุทธเจ้าวางธรรมไว้สองประการได้แก่
โลกิยะธรรม 1
โลกุตรธรรม 1
เป็น
ทางปฏิบัติ ดังจะได้จำแนกธรรมในทางปฏิบัติต่อๆ
ไป
|
|
-
วิธีปฏิบัติ
สมถะโลกิยะธรรมเป็นธรรมพิเศษของมนุษย์เรียกว่า
เดรัจฉานวิชา
มาจากศาสนาพรหม-ศาสนาพราหมณ์
มีมาก่อนศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้า
(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)
ถึงได้เรียกกันว่าโลกิยะธรรม
เวลาฝึกจิตให้ไปตามสมถะโลกิยะธรรมต้อง
ใช้สัญญาเบญจขันธ์เป็นตัวนำของจิต
ให้เกิดเป็นต่างๆ
นาๆ
แบบผีสิงแบบจ้าวเข้าทรงไปตามอาการสัญญาที่เรานึกคิดเราปรารถนา
ให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
ก็จะเกิดขึ้นแก่จิตใจเราได้เพราะสัญญา
เป็นตัวนำนี้วิธีหนึ่ง
เขาเรียกว่าสมถะโลกิยะธรรมเป็นธรรมพิเศษของมนุษย์
ที่ถือปฏิบัติสืบๆ
กันมาอยู่เท่าทุกวันนี้
อีกแบบหนึ่งใช้สัญญานึกคิดได้เห็นเขาทำกันดูอย่างนั้นอย่างนี้
จริงบ้างไม่จริงบ้างหรือได้ยินได้ฟังมาก็จำ
ได้ด้วยสัญญาของตน
ก็ทำให้เกิดเป็นจริตขึ้นว่า
จ้าวนั้นจ้าวนี้หลวงพ่ออาจารย์นั้นอาจารย์นี้เข้าประทับทรงตน
เลยพูดไปตามจริตของตนด้วยสัญญาอุปาทานที่จิตวิปริต
อันนี้ก็ธรรมพิเศษของมนุษย์บางท่านก็คิดนึกไปตามสัญญาอุปาทานในความนึกคิด
จะให้จิตของตนไปตามอย่างนั้นอย่างนี้ก็เป็นไปด้วยอาการนึกคิด
ด้วยจิตวิปริตของตนทำให้เกิดขึ้น
จริตก็จะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
พูดไปตามจริงของตนที่เกิดขึ้น
พูดเป็นภาษาแขกบ้างภาษาต่างๆ
บ้างโดยมนุษย์ไม่รู้ภาษาดูสิ่งนั้นบ้างสิ่งนี้บ้าง พูดธัมมะบ้างแสดงธรรมบ้าง
บางคนให้ทำบุญให้ทานบ้าง
บางอย่างใช้วิชาคาถาพ่นเป่าทำน้ำมนต์ด้วยวิชาคาถาต่างๆ สะเดาะเคราะห์ขับไล่ด้วยคาถามนต์ต่างๆ
บ้าง
จิตของตนเองบ้าง
ไปหาว่าพระฤาษีพระพรหมบ้าง
เยอะแยะพรรณนาไม่ไหว
ในศาสนาพราหมณ์โลกิยะธรรมไสยศาสตร์เดรัจฉานวิชา
เป็นธรรมพิเศษของภพทั้งสามนี้
จะปฏิบัติฝึกจิตของตนให้ไปตามวิถีต่างๆ
ได้ทั้งนั้น
เพราะธรรมพิเศษของมนุษย์มีมาก
ศาสตร์กระสินกลมนต์มีมาก
เสน่ห์เล่ห์ลม
ที่จะทำลายจิตใจของสัตว์และมนุษย์
ให้รักให้เกลียดให้หลงไปต่างๆ
ให้เจ็บให้ตายก็ได้
ถึงได้เรียกว่าธรรมพิเศษโลกิยะธรรมเป็น
ของมนุษย์ที่เวียนว่ายตายเกิดในภพทั้งสามนี้
ภพทั้งสามนี้ก็คือ
กามภพโลกมนุษย์นี้
1 ภูมิสวรรค์ตลอดพรหมทุกๆ
ชั้น 1
เรียกว่าภพทั้งสาม
ด้วยกันทั้งนั้น
เราจะนึกคิดให้จิตเราอย่างไรก็ได้ตามจริตของตนด้วยไสยศาสตร์โลกิยะธรรม
เรียกว่าเดรัจฉานวิชาอย่าง
1
อีกอย่างหนึ่งใช้คำ
ภาวนาว่าไปตามอาจารย์ต่างๆ
ไม่เหมือนกันอันใดก็ได้ให้ภาวนาบริกรรมไปยกมือกำหนดไปยกเท้ากำหนดอันใดใด
ก็ได้ตามอาจารย์ให้กำหนด
การกำหนดนี้ต้องรู้ด้วยตา
ต้องรู้ด้วยหูเป็นสิ่งจำได้หมายรู้กำหนดให้เกิดสัญญาอุปทาน
ให้จิตเราผู้ปฏิบัติให้ติดอยู่ในสิ่งเหล่านี้ จนเกิดอาการ
เปลี่ยนแปลงขึ้นในจิตใจ
ของตนเป็นไปต่างๆ
เป็นไปแปลกๆ
ด้วยธรรมพิเศษของมนุษย์ด้วยธรรมกุศล
1 ด้วยธรรมอกุศล
1
ธรรมเหล่านี้เกิดขึ้น
เพราะการกระทำปฏิบัติจิตใจของตนเองถูกบ้างผิดบ้าง กระทำจิตใจของตนให้เพลิดเพลินไปตามในธรรมเหล่านั้น
จนเป็นจริงเป็นแจ้งไปตามจริต
ของแต่ละท่าน
เพราะมันเป็นธรรมพิเศษของมนุษย์ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งสามนี้
โลกกามภพมนุษย์และสัตว์ถึงไม่เหมือนกันนานาจิตตัง
จิตนั้นต่างๆ
กัน
เพราะทางนึกคิดปฏิบัติความเห็นดีต่างๆ
กัน
อย่างเราท่านได้ยินได้ฟังได้เห็นได้นึกคิดไปต่างๆ
กันเพราะความอยากได้อยากมี
อยากเห็นในสิ่งแปลกๆ
อยู่เสมอๆ ไป
แม้แต่คนบ้าคนบอคนร้องไห้เต้นรำขับร้องก็อยากดูอยากเห็นกัน
เพราะมันเป็นสายทางของจิตใจที่เวียนว่าย
ตายเกิดอยู่ในภพทั้งสามนี้
ปฏิสนธิเกิดบ้าง-จุติไปตามภูมิวิญญาณบ้าง
ตั้งแต่จิตใจเราท่านวนเวียนอยู่ในภพทั้งสามนี้มานานนักเป็นกัปแล้วทุกๆ
ท่าน
แต่ท่านไม่รู้เอง
จิตใจของเราท่านถึงชอบ
อยากดูอยากเห็นสีแสงรูปนามต่างๆ
รูปธรรมนามธรรมบ้างกายวิญญาณบ้างกายทิพย์บ้างรูปต่างๆ
บ้าง
เห็นแล้วบางอาจารย์ก็ไปหาว่านั่นแหละเป็นทางพระนิพพานอย่างนี้ก็มี
เพราะท่านอาจารย์นั้นๆ
ยังไม่รู้ทางเหล่านี้ว่าเป็นทางโลกิยะธรรม
เป็นทางวิญญาณของมนุษย์และสัตว์ที่ท่องเที่ยวอยู่ในภพทั้งสาม
จะหาเป็นไปในทางพระนิพพานก็หามิได้แต่อย่างใดนะท่านฯ
|
|
-
การปฏิบัติสมถะโลกิยะธรรมอันเป็นธรรมพิเศษของมนุษย์นี้
ต้องใช้อิริยาบถเดียวคืออิริยาบถนั่ง
จะดูกระสินนั่งดูนิมิตในรูปแสงสีต่างๆ
ให้พิจารณาในรูปในแสงสีต่างๆ
ที่บังเกิดแก่ตนที่เห็นนั้น
ให้พิจารณาในภพนั้นๆ
ดูเหตุการณ์ของโลกจะดีหรือชั่วเป็นเหตุต่างๆ
ให้ดูให้พิจารณาในภาพสีแสงและรูปที่เราเห็นในนิมิตนั้นๆ
ต่างๆ กัน
ถ้าผู้ปฏิบัตินั่งเห็นสิ่งบังเกิด
ในสีแสงของกระสินมีอยู่สิบสี
ให้พิจารณาในสีแสงนั้นจนให้รู้ในเหตุและผลของสีแสงกระสินนั้นๆ
ถ้าเราเห็นสีแสงแล้วมิได้นำมาพิจารณาก็ไม่รู้ว่า
อะไรเป็นอะไร
มีเหตุอะไรกับโลกมนุษย์และสัตว์บ้าง
ให้ผู้ปฏิบัติจงพิจารณาเอาด้วยตนเอง
เพราะความรู้เกิดขึ้นด้วยตนเอง
ผู้ปฏิบัตินั่งเห็นรูป
ต่างๆ
ในนิมิตนั้นให้พิจารณาในรูปนั้นๆ
จะมีผลกับโลกมนุษย์และสัตว์อย่างไรบ้าง
ให้พิจารณาในรูปธรรมนามธรรมนั้นๆ
ทุกๆ
ระยะจนรู้แจ้งนั้นๆ
เราจะได้รู้ในการเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์กันบ้าง
เพราะว่ามันเป็นธรรมพิเศษของมนุษย์ที่อยู่ในภพทั้งสามนี้
ท่านเรียกว่ากระสินสิบ-นิมิตสามฯ
|
|
-
ต่อไปก็จะเกิดรูปฌานสี่-อรูปฌานสี่-วิชาสามต่อๆ
ไป ก็จบธรรมพิเศษของมนุษย์
ภพทั้งสามนี้วิธีนั่งให้ใช้สัญญาเบญจขันธ์เป็นตัวนำ
สัญญามีสามขั้นตอนคือ
สัญญานอก 1
สัญญาใน 1
สัญญาในสัญญา 1
ผู้ปฏิบัติต้องเอาสัญญาในสัญญามาเป็นหลักถึงจะถูกต้องในทาง
สมถะโลกิยะธรรม
เพราะเป็นธรรมพิเศษของมนุษย์
ส่วนสัญญานอกเป็นสัญญาส่วนความทรงจำเท่านั้นให้ปล่อยวางเสีย
ส่วนสัญญาในเป็นสิ่งรู้
ให้ติดอยู่ในความมืดก็ให้ละเสีย
ให้น้อมจิตใจเราปล่อยวางเสียให้ผ่านไป
ให้เอาสัญญาในสัญญานั้นมาเป็นองค์สมาธิคือ
ความถือใจมั่นเป็นทาง
พิจารณาในสีแสงและรูปนิมิตต่างๆ
ในฌานต่อไป
การปฏิบัติขั้นต้นในความกำหนดให้เกิดสีแสงต่างๆ
มีอยู่สองทางด้วยกันคือ
กำหนดวัตถุที่เป็นรูป
ต่างๆ
หรือเป็นช่องที่ทะลุเป็นรูปที่เห็นอากาศภายนอกได้ หรือวัตถุเป็นรูปวงกลมๆ
อย่างนี้เสียก่อนก็มีนี้เป็นวิธีหนึ่ง
ให้กำหนดหน้าอกลิ้นปี่ของ
ผู้ปฏิบัติเอง
หรือให้กำหนดที่สะดือกลางศูนย์ของลำตัวของตัวเราเอง
แล้วให้ภาวนาตามแต่อาจารย์จะบอกอย่างไรก็ได้
จนให้เกิดสีแสงขึ้นที่ตน
กำหนดอยู่นั้นจะเป็นแสงสีหิ่งห้อยก็ดี
เป็นแสงเล็กก็ดี
แสงดำแดงขาวเหลืองหรือเป็นสีต่างๆ
อย่างไรก็ตาม
ให้พิจารณาให้ขยายสีแสงจุดเล็กๆ นิดๆ
ก็ตามเห็นที่เรากำหนดที่เราจำได้ด้วยสัญญาของเรา
หรือเป็นแสงขึ้นให้เราเห็น
ที่กำหนดในที่นั้นๆ
ที่เป็นอารมณ์อยู่หรือเป็นรูปอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง
ที่เรากำหนดเอามาเข้ามาอยู่ในตัวเราได้แล้วให้รู้อยู่ที่รูปนั้นให้เป็นจุดเดียว
จนให้รูปนั้นแสงนั้นใสเหมือนแก้วเหมือนปรอทนั้น
อยู่ที่เรากำหนดที่สายสะดือก็ดีที่หน้าอกลิ้นปี่ก็ดี
ที่เราเห็นใสเหมือนแก้วเหมือนปรอทก็ดี
เธออย่าไปเห็นผิดนึกผิดคิดผิดหลงเป็นว่านั้นแหละ
นี้แหละเป็นสิ่งเข้าสู่พระนิพพานคือกายนิพพาน
นี้แหละเธออย่าเพิ่งไปคาดคะเนเอาว่า
เป็นทางพระนิพพาน
มิใช่นะ
ท่านอย่าเข้าใจผิดมันมิ
ใช่ทางนิพพานโลกุตรธรรมนะท่าน
แต่มันเป็นทางสมถะโลกิยะธรรม
มันเป็นธรรมพิเศษของมนุษย์สามัญชนนะท่าน
ถ้าเราฝึกแล้วในรูปธรรม
นามธรรม
ใสเหมือนแก้วใสเหมือนปรอทที่เราเห็นจำได้ชัดเจนแล้วนั้นให้เธอละออกเสีย
ให้เหลืออยู่แสงความสว่างอย่างเดียวในนั้นให้เรา
พิจารณาดูอยู่ในที่สว่างนั้นต่อๆ
ไป
ก็จะเกิดรูปฌานสี่-อรูปฌานสี่ขึ้นที่ความแสงสว่างนั้น
รูปนั้นเป็นรูปจิตวิญญาณตัวเราเอง
รูปร่างเงาหน้า
เหมือนเราผู้ปฏิบัติแต่ว่าเป็นเด็กหนุ่ม
คือรูปตัวเราอันเป็นสิ่งไม่ตายนั้นเองที่มาปฏิสนธิอยู่
ในร่างกายสังขารของสัตว์และมนุษย์ชาย-หญิง
อย่างความเป็นอยู่อย่างเราทุกวันนี้ที่มีความเคลื่อนไหวไปมา
พูดกันได้มีเสียงได้ก็เพราะจิตวิญญาณ
เราท่านเป็นสิ่งไม่ตายนะท่าน
คือตัวเราเขานั้นเองจะเวียนว่ายเกิดอยู่
สิ่งที่เวียนว่ายนั้นเรียกว่าจิตวิญญาณที่มาปฏิสนธิในร่างของสัตว์มนุษย์ได้นานา
ชนิด
สิ่งที่เกิดที่ตายคือร่างกายสังขารที่เกิดเป็นมนุษย์และสัตว์นั้นเอง
ถ้าผู้ปฏิบัติฝึกหัดสมถะโลกิยะธรรมอันเป็นธรรมพิเศษของมนุษย์ได้แล้ว
เข้าถึงฌานสี่คือรูปฌานสี่-อรูปฌานสี่ได้แล้ว
จะรู้แจ้งในภพทั้งสาม จิตวิญญาณจะท่องเที่ยวดูในภพทั้งสามนี้ไม่ต้องสงสัยดอกท่านชายหญิง
ขอแต่เราเข้ารูปฌานสี่ให้ได้ก็แล้วกัน
เราก็จะรู้จะเห็นวิญญาณทั้งหมด
เห็นด้วยฌานนั้นเองมิใช่อย่างอื่นนะท่าน
เพราะอำนาจของฌานทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นรู้แจ้งสว่างในภพทั้งสามได้อย่างแท้จริงแต่มิใช่ทาง
พระอรหันต์นิพพานนะท่าน
มันเป็นทางภพทั้งสามที่มนุษย์เวียนวนปฏิสนธิเกิดแล้วเกิดเล่าอยู่ในตัณหาอาสวะถึงเรียกว่า
ธรรมพิเศษของมนุษย์ รูปนาม
เจตสิก
จิต
ธรรมแปลว่าวนเวียนอยู่ในธรรมเหล่านี้
เพราะภพทั้งสามกามภพเหล่านี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของมนุษย์และเทวดาอินทร์พรหม
และพญามารมีอยู่มากมาย
สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นมันก็มีอยู่จริง
มันก็เป็นแต่เพียงธรรมดาเท่านั้นมันจะยิ่งกว่า
พระพุทธ-พระธรรม-พระอริยสงฆ์
ไปนั้นย่อมไม่มี ผู้ปฏิบัติจิตเข้าถึงรูปฌานสี่เห็นวิญญาณ
ของตนได้แล้ว
ต่อไปก็จะเข้าถึงวิชาสามต่อไปเรียกว่า
บุพเพนิวาสานุสติญาณ
ก็จะรู้แจ้งในชาติหนหลังของตนได้
ก็เพราะวิญญาณของเราที่เห็นนั้นก็คือตัวตนของเราที่มาปฏิสนธิอยู่ในร่างกายมนุษย์อยู่ในโลกนี้ (วิญญาณที่เราเห็นด้วยฌานนั้นแหละ)
ให้เราน้อมวิญญาณของเราที่เห็นอยู่ตรงหน้าเรา
เพราะเราอยากจะดูอยากจะรู้ในอดีตชาติเราได้เกิด
เป็นอะไรบ้าง
วิญญาณของเรา
ก็จะปฏิสนธิรูปนั้นให้เราดู
จนรู้ชัดเจนว่าได้ไปเกิดปฏิสนธิในสิ่งนั้นๆ
กี่ชาติก็ได้
ถ้าเราขยันดูก็จะรู้ได้เพราะวิญญาณของเราไปปฏิสนธิเกิดให้เราเห็นด้วยภาพทัศนะนั้นๆ
เอง
ท่านเรียกว่ารู้นึกระลึกชาติหนหลังได้
ท่านเรียกว่าวิชาสามบุพเพนิวาสานุสติญาณ
รู้แจ้งในชาติหนหลังรู้ในสิ่งไม่ตายอีกด้วยคือ
วิญญาณของเราท่านนั้นเองที่ไม่ตายแปลว่ารู้แจ้ง
ในธรรมอันไม่ตายนั่นเอง
วิญญาณอยู่ในลมไฟจิตใจของเราท่านนั้นเอง
เพราะว่าจิตเป็นไฟใจเป็นลม วิญญาณเราท่านชาย-หญิงมนุษย์และสัตว์ก็อยู่ในที่นั้น
เราจะปฏิบัติก็ต้องใช้ไฟลมของจิตใจของเรานั้นเองให้เกิดความสว่างขึ้นในจิตใจของเรา
เราก็จะได้รู้ก็จะได้เห็นวิญญาณตนและผู้อื่นได้
ความสว่างของลมไฟจิตใจของเรานั้นเอง
ท่านเรียกว่า
ผู้ปฏิบัติให้จิตใจของตนให้สว่างแจ้งได้แล้ว
จะรู้ซึ้งโลกรู้ซึ้งธรรมด้วยตนเองเพราะจิตเราเป็นไฟ
ใจเราเป็นลมอยู่แล้วสามารถน้อมนึกได้ทุกๆ
อย่าง
จะน้อมนึกเอาความละเว้นศีลธรรมก็ได้
จะน้อมนึกเอาตัณหาอาสวะ
โลภ-โกรธ-หลง
ก็ได้เพราะไฟลมนั้นเอง
ท่านเรียกว่าจิตเจตสิก
89 ดวง (แปดสิบเก้า)
เราจะเอามาใช้ในเวลาใด
ก็ได้มีครบสมบูรณ์อยู่แล้วในทุกตัวตน
แต่เราให้รู้จักเอาศีล-สมาธิ-ปัญญาของพระพุทธเจ้าที่ท่านตรัสรู้แจ้งที่เป็นทาง
พระนิพพาน
ให้เราท่านเดินไปตามทางท่านเท่านั้นถึงจะล่วงทุกข์ได้อย่างแท้จริงฯ
|
|
-
วิชาสามจุตูปปาตฌาน
ผู้ปฏิบัติเข้าอยู่ในข่ายของฌาน
จะรู้แจ้งเห็นวิญญาณตนและผู้อื่นได้
รู้จักวิญญาณของมนุษย์และสัตว์ที่จะไปจุติอยู่ที่ใดใดในภพทั้งสามนี้
ด้วยกุศล-อกุศลบุญบาปกรรมเวร
อย่างไรก็จะรู้ได้ในฌานจุตูปปาตฌานที่ตนเห็นเป็นพักๆ
ที่เราน้อมนึกจิตของเราอยู่ในข่ายของฌาน
รู้จักวิญญาณของมนุษย์และสัตว์ที่ไปปฏิสนธิเกิดในร่างสังขารตามสัตว์ต่างๆ
ได้
เพราะรู้เห็นในข่ายของฌานนั้นเอง
จิตใจของผู้ปฏิบัติที่อยู่ในข่ายของฌานนั้นเรียกว่ามิใช่สัญญาก็มิใช่นะท่าน
จะว่าอะไรๆ
ก็ไม่ถูกทั้งนั้น
แต่รู้ด้วยความสว่างของจิตด้วยฌานนั้นเอง
มิใช่อุปาทานแต่อย่างใด
ผู้ปฏิบัติจิตใจของตนเข้าถึงวิชาสามได้แล้วไม่มีอุปาทานแต่อาศัยตัณหาอาสวะอยู่เป็นพักๆ
เพราะวิชาสามของโลกิยะธรรมนี้ท่านเรียกว่าสมถะคือ
ฌานความสว่างที่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัตินั่งอยู่นิ่งอยู่นั้นเอง
ใช้ความกำหนดให้อยู่ในข่ายของฌานในภาพรูปธรรม-นามธรรมในภูมภพทั้งสามที่
วิญญาณเวียนว่ายเกิดตายปฏิสนธิจุติตามภพภูมิต่างๆ
ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ด้วยนิมิตรูปฌานสี่อรูปฌานสี่
ความรู้เห็นได้เรียกว่าฌานนั้นเองฯ
|
|
-
ต่อไปเป็นวิชาสามเหมือนกันเรียกว่า
อาสะวักขยญาณ
มีความรู้ซึ้งในภพทั้งสามได้อย่างแท้จริง
รู้ว่าภพทั้งสามนี้เกิดขึ้นได้เพราะ
ตัณหาอาสวะ
ทำให้หลงเวียนว่ายเกิดตายอยู่จะหาทางที่จะสิ้นสุดลงมิได้เลย
ภพทั้งสามนี้ล้วนแต่ตัณหาอาสวะเป็นมูลให้เกิดกองทุกข์
จะหาทางยุติออกจากทุกข์มิได้เลย
รู้แจ้งแห่งทุกข์ได้ก็เพราะการปฏิบัติด้วยญาณอาสะวักขยญาณ
ที่ปฏิบัติสำนึกรู้แจ้งแก่จิตใจตนของตนนั้นเอง
พอรู้ทุกข์ของตัณหาอาสวะได้แล้วอย่างชัดเจน
ก็สำนึกจิตใจของตนให้เข้าสู่พิจารณาญาณเก้า
รู้แจ้งทุกข์สมุทัยรู้แจ้งเหตุและผลของเหตุ
สมุทัยเป็นเหตุแห่งทุกข์
เพราะตัณหาอาสวะเป็นความเกิดแห่งทุกข์
รู้จักทำตัณหาอาสวะให้สิ้นจากจิตใจตนได้เพราะญาณคือความรู้แจ้ง
จะพ้นจากทุกข์ได้คือพระนิพพานนั้นเอง
ผู้รู้แจ้งในอาสะวักขยญาณแล้ว
รู้แจ้งทางพระนิพพาน
รู้จักทำจิตใจของตนให้ว่างด้วยความละเว้นปล่อยวางรู้จักส่งคืนตัณหาอาสวะสิ่งที่ประกอบทุกข์อยู่
มิได้อาลัยในสิ่งเหล่านั้นแต่อย่างใด
ตาเห็นก็รู้
หูได้ยินก็รู้
อะไรๆ
ก็รู้อยู่
แต่รู้ในการวางเฉยแล้วสำนึกเอาสิ่งไม่มี
ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์นี้เป็นทางพระอรหันต์อีกสายหนึ่ง
ผู้ปฏิบัติเข้าถึงวิชาสามแล้วจะรู้จักทำตัณหาอาสวะให้สิ้นจากจิตใจตนได้เข้าสู่พระนิพพาน
ได้ตามพุทธบัญญัติให้ไว้ผู้ปฏิบัติที่มาภายหลังอย่างหมู่เรา
ท่านทุกวันนี้
เพระเป็นทางปฏิบัติรู้แจ้งในอาสะวักขยญาณ
รู้แจ้งในทางเวียนว่ายเกิดตายปฏิสนธิจุติเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
จะหาทางที่จะสิ้นสุดลงมิได้
ก็เกิดความเบื่อหน่ายในทางจิตใจ
คลายจากการสะสมคลายจากความกำหนัดเห็นแจ้งในทางคนๆ
เดียว
รู้แจ้งในความวางเฉย
เห็นทางสิ่งไม่มีเป็นอารมณ์อันเดียว
ยึดเอาความพ้นจากทุกข์มาเป็นอารมณ์
เป็นทางสุดของจิตใจไม่มีอีกต่อไป
เรียกว่ายึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นสุขอย่างยิ่งนี้เป็นทางผู้รู้แจ้งในทางวิชาสามก็เป็นทางเข้าสู่พระนิพพานด้วยอาสะวักขยญาณ
รู้จักทำตัณหาอาสวะให้สิ้นไปด้วยตนเอง
มิได้อาศัยศีลสมาธิปัญญาเป็นทางเดินแต่อย่างใด
เรียกว่าผู้มีสติปัญญานั้นเองคือตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง
หนึ่งไม่มีสองเป็นสุขอย่างยิ่ง
ผู้ปฏิบัติชายหญิงให้พิจารณาให้รู้แจ้งเพราะสิ่งรู้ได้จำเพาะตนเอง
(ว่าเป็นพระแล้วก็เกิดความสงบสุข
จิตใจก็เข้าสู่นิพพานหนึ่งก็เกิดความรู้แจ้งในทางนิพพานสองโดยสงบ)
นิพพานทางสายนี้มิได้วางศาสนาไว้แต่อย่างใด
มีแต่ทำความรู้ของตนให้สมบูรณ์เท่านั้นก็บรรลุเพราะทางสายนี้เป็นทางพระปัจเจกเป็นส่วนมากฯ
|
|
-
ผู้ปฏิบัติชาย-หญิงไม่สมควรปฏิเสธในธรรมเหล่านี้จึงให้พิจารณาว่า
สิ่งอันใดในโลกนี้มีแต่สิ่งไม่เที่ยงมีแต่สิ่งประกอบทุกข์อยู่ด้วยกันทั้งนั้น
พระพุทธเจ้าถึงให้นึกถึงความตายของสังขารตนและผู้อื่นนั้นมาเป็นอารมณ์
ความตายของสังขารเราท่านนั้นไม่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งแน่นอนเรียกว่า
นิพพานหนึ่ง
ทั้งจิตใจเราท่านก็ไม่เที่ยง
สิ่งอันใดไม่เที่ยงสิ่งอันนั้นเป็นทุกข์
พระพุทธเจ้าถึงได้น้อมนึกยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
นิพพานนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงแน่นอนเป็นทางของจิตใจไฟลมเป็นที่สงบเรียกว่านิพพานสอง
(นิพพานัง
ปะระมัง
สุขขัง)
มีแต่สุขอย่างเดียวไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดหาได้ไม่
ศากยบุตรอยู่ในศาสนานี้ท่านรู้ทั่วถึงกันหมดแล้ว
เธออย่าเป็นผู้ปฏิเสธเสีย
อย่าเป็นผู้พูดนอกเรื่องนอกราวเสีย
อย่าไปพูดโดยโกรธเคืองคับแคบแค้นใจเสีย
อย่าไปพูดกลบเกลื่อนเสีย
ให้เธอน้อมนึกเอาความรู้ของตนที่มีอยู่นั้นมาทำให้สมบูรณ์เถิด
พระพุทธเจ้าครูบาอาจารย์และอาตมาภาพขออนุโมทนาด้วย
ผู้ปฏิบัติชาย-หญิงที่อยู่ในยุคนี้สมัยนี้สมควรพิจารณาในธรรมเหล่านี้ด้วย
เราไม่ควรปฏิเสธพูดกลบเกลื่อนเสีย
เราไม่ควรไปพูดนอกเรื่องนอกราวเสีย
เราไม่ควรไปพูดโดยโกรธเคืองคับแคบแค้นใจเสีย
ท่านจงทำความรู้ของตนให้มีอยู่ให้สมบูรณ์เถิดขออนุโมทนาด้วยฯ
|
|
-
ดูก่อนท่านชาย-หญิงเธอรู้ทุกข์ไหม
(รู้)
เธอรู้สุขไหม (รู้)
เธอรู้ความตายของสังขารตนและผู้อื่นไหม
(รู้)
เธอรู้พระนิพพานไหม
(รู้)
เออนั่นแหละเธออย่าไปปฏิเสธพูดกลบเกลื่อนเสีย
เธออย่าไปพูดนอกเรื่องนอกราวเสีย
เธออย่าไปพูดโดยโกรธเคืองคับแคบแค้นใจเสีย ศากยบุตรเขารู้ทั่วถึงกันหมดแล้ว
ให้เราทั้งหลายจงทำความรู้ของตนที่มีอยู่นั้นให้สมบูรณ์เถิด
อาตมาภาพขออนุโมทนาด้วย
|
|
-
ต่อนี้เป็นทางปฏิบัติจิตใจในทางพระพุทธศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ
พระองค์
ให้พิจารณาในกรรมฐานห้าวิปัสสนา
ตั้งแต่โสดาบันบุคคลไปจนถึงพระอรหันต์ต่อๆ
ไป
ตั่งแต่ทาน-ศีล-ภาวนา
เป็นต้นไปคือศรัทธาบารมีเป็นต้นเป็นมูลให้เกิดปัญญาเข้าสู่ศีล-สมาธิ-ปัญญา
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อๆ
ไป
ไปจนเข้าถึงพระอรหันต์
เข้าสู่พระปรินิพพานให้จงได้โดยสัจจะความจริงใจของตนไม่เสื่อมคลายแต่อย่างใด
อันนี้เป็นหลักขอแต่อย่าคิดให้มันมากจนเกินไป ให้นึกคิดอยู่ในศีล-สมาธิ-ปัญญา
ที่เป็นทางที่จะออกปราศจากกองทุกข์แต่อย่างเดียว ก็จะได้รับแต่มรรคผลเข้าถึงสุขได้อย่างแท้จริง
พระพุทธเจ้าให้รู้ทุกข์ให้รู้สมุทัยอันเป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น
มันคืออะไรนิโรธเป็นทางออกจากทุกข์ได้อย่างแท้จริง
มรรคเป็นทางพ้นจากทุกข์ได้ไม่ต้องสงสัย
พระพุทธเจ้าวางสายทางไว้ให้เป็นทางพระนิพพาน ขอแต่ผู้ปฏิบัติชาย-หญิงอย่ามีความสงสัยลังเลในใจของตนก็แล้วกัน
ให้พิจารณาในจิตใจของตนด้วยการยืนเดินนั่งนอน
ให้พิจารณาละเว้นด้วยกายวาจาใจเพื่อจะออกจากทุกข์ได้เป็นเด็ดขาด
ทุกข์คือการเวียนว่ายเกิดตายอยู่ในภพทั้งสาม
สมุทัยเป็นเหตุแห่งทุกข์
คือกามตัณหาสามโลกธรรมแปดประการนั้นเอง
ขอให้เราละเว้นไปตามทางศีลสิกขาบทสิบประการให้ได้อย่างแท้จริงก็แล้วกัน
ให้เรามีสมาธิคือความถือใจมั่นว่าเราจะเข้าสู่พระนิพพานให้ได้เป็นเด็ดขาด
ปัญญาให้พิจารณาให้รู้เท่าทันในสังขารว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์เหมือนอสรพิษคอยฉกกัดอยู่เสมอๆ
เพราะสังขารตนและผู้อื่นล้วนแต่เป็นอสรพิษด้วยกันทั้งนั้น
เราจงพิจารณาเข้าสู่นิโรธต่อไป
นิโรธคือความละเว้น
1 ปล่อยวาง 1
ส่งคืน 1
อย่าอาลัยในสิ่งเหล่านั้น
1
สี่อย่างนี้เรียกว่านิโรธนะท่านชาย-หญิง
แล้วให้พิจารณาในทางไปตามมรรคคือทางเข้าสู่พระนิพพานต่อไป
คือทำจิตใจของตนให้ว่าง
ตาเห็นเราก็รู้ หูได้ยินเราก็รู้อะไรๆ
เราก็รู้ให้วางเฉย ให้เอาสิ่งไม่มีให้น้อมนึกเอาพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์
มาเป็นสรณะที่พึ่งทางใจให้พร้อม
ยึดเอาพระนิพพานมาเป็นอารมณ์ของจิตใจของเราอยู่เป็นเนืองนิตย์
ก็จบทางศีล-สมาธิ-ปัญญา
เหล่านี้เรียกว่าทางพระนิพพาน
|
|
-
ถ้าจะจำแนกทางปฏิบัติจิตใจเข้าสู่นิพพานนั้น
ถ้ามากไปผู้ปฏิบัติก็ถือว่าเหลือวิสัยของมนุษย์ไปก็จะกลายเป็นธัมมะไป
เลยไร้ประโยชน์เหตุผลเลยเสียประโยชน์ที่ตนได้มาเกิดปฏิสนธิอยู่ในร่างกายชาย-หญิง
เลยไม่รู้ว่าทางพระนิพพานว่าเป็นอย่างไร
ได้แต่แสวงหาแต่ธัมมะ
ไม่รู้จักทางที่จะเอาชนะกิเลสตัณหาอาสวะหมู่มารแต่อย่างใด
รู้ได้แต่พระไม่รู้ว่าจะเอาหมู่มารที่ตรงไหน ผู้แสวงหาธัมมะศีลสมาธิปัญญาไม่มีทางจะสิ้นสุดลงได้
ผู้นั้นก็ต้องเวียนว่ายเกิดตายอยู่เป็นกัปๆ
จะหาทางที่สิ้นจากกองทุกข์มิได้เลย
เรียกว่าผู้หลงอยู่ในธัมมะจะเอาชนะตนของตนมิได้เลย
ธัมมะเท่าไหร่ปัญหาของโลกก็มีเท่านั้น
ธัมมะกับปัญหาวิ่งแข่งแย่งกันอยู่เสมอๆ
ไปต่างๆ
ต่างก็จะอาชนะกันจะหาทางจะตกลงกันมิได้แต่อย่างใดนะท่านชาย-หญิง
รีบไปทางพระนิพพานกันเถิด
ไม่มีธัมมะปัญหาแต่อย่างใดนะท่าน
เพราะทางนิพพานไม่มีปัญหานะท่าน
นิพพานคือความว่างวางเฉยเอาสิ่งไม่มี
เอาความสุขเป็นอารมณ์
ท่านถึงได้ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
นิพพานคือความสุขอย่างยิ่งนั้นเอง
|
|