-
วิปัสสนาโลกุตรธรรม
|
|
-
จิตผู้ปฏิบัติเสร็จแล้วนั้น
ต่างกันกับจิตผู้ปฏิบัติเสร็จแล้วมีความนึกคิดมากกว่า
เพราะรู้ซึ้งโลกและรู้ซึ้งธรรม
รู้ในเหตุผลต่างๆ
ในทางจิตและใจ
ในทางสัญญาและจิตเจตสิกที่เกิดดับๆ
อยู่
เพราะธาตุสังขาร-กาย-เวทนาและเบญจขันธ์
รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณยังมีอยู่
แต่เป็นผู้รู้แจ้งในสัญญานั้นๆ
มากกว่าผู้ที่ยังมืดอยู่
เพราะผู้มืดอยู่หลงไปยึดให้จิตตนไปติดอยู่ในสิ่งที่เห็นได้
ได้ยินได้ฟังที่ตนได้ประสบการณ์มาในสิ่งนั้นๆ ก็ไปยึดให้เกิดเป็นอุปาทานในสิ่งเหล่านั้น
เรียกว่า
ความมืดยังครอบงำจิตใจไว้อยู่
เพราะยังไม่รู้ซึ้งโลกนั้นเอง
ถ้าเรารู้ซึ้งโลกแล้ว
เราก็จะรู้เท่าทันสังขารและวัตถุสังขารนานาชนิด ว่ามันเป็นไปตามโลกของเขาในภพทั้งสามนี้ จิตใจที่อยู่ในโลกนี้มันก็ต้องเกิดดับๆ
อยู่อย่างนี้
โดยธรรมชาติของจิตใจ
ในธาตุสังขารและเบญจขันธ์ยังอยู่.....ให้รู้กันไว้บ้าง
ธรรมที่รู้แจ้งนี้เป็นธรรมทางพระอรหันต์โดยไม่มีอุปาทาน
ถึงได้มีความนึกคิดมากกว่าคนธรรมดาสามัญชน สติความน้อมนึกได้ก็มากกว่าหลายเท่า แต่ท่านไม่มีวิตกวิจารณ์ในอุปทานแต่อย่างใด
เพราะว่าโลกกามภพนี้มีความนึกคิดกันอยู่
อย่างนี้ก็รู้เท่าทันทั้งหมด
ในขณะนึกคิดนั้นๆ ว่าเป็นความนึกคิดของโลกๆ
โลกคือสังขารของมนุษย์เราท่านนี้เอง
จะไม่ให้มันนึกคิดได้อย่างไรกันเล่าฯ
|
|
-
หลักของการปฏิบัติจิตนี้
ต้องกระทำจิตของตนๆ
ให้ว่าง-วางเฉย
เอาสิ่งไม่มี
เอาพระพุทธ-พระธรรม-พระอริยสงฆ์
ว่าเป็นสรณะที่พึ่ง.....ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
ให้พิจารณาอยู่เนืองๆ
ไม่ว่าอยู่ในทางพระนิพพานหนึ่ง
หรือพระนิพพานสองก็เช่นเดียวกันฯ
|
|
-
นิพพานหนึ่งนี้เรียกว่า
หนึ่งไม่มีสอง
เรียกว่า นิพพานัง
ปะระมัง
สูญญัง
แปลว่า
สูญจากการสะสม
1 ละจากความกำหนัด 1 ละจากความคลุกคลีหมู่คณะ
1
ละจากความเป็นมักใหญ่
1 ละจากความเป็นผู้เลี้ยงยาก
1
ละจากห้าอย่างนี้ได้แล้ว
แปลว่าผู้ปฏิบัติอยู่ในเขตนิพพานหนึ่งเรียกว่า
สูญญัง
คือยังอยู่แต่เบญจขันธ์
คือ
รูปนอก-รูปใน-รูปในรูป
1 เวทนานอก-เวทนาใน-เวทนาในเวทนา
1
สัญญานอก-สัญญาใน-สัญญาในสัญญา
1 สังขารนอก-สังขารใน-สังขารในสังขาร
1 วิญญาณนอก-วิญญาณใน-วิญญาณในวิญญาณ
1
ยังอยู่ห้าอย่างนี้เรียกว่าเบญจขันธ์ยังอยู่
แปลว่าความทุกข์ความรำคาญยังมีอยู่ไม่ต้องสงสัย ละได้ห้าก็ยังเหลืออยู่ห้าฯ
|
|
-
นิพพานสองนี้เรียกว่า
นิพพานัง ปะระมัง สุขัง
มีแต่สุขอย่างเดียว
ความทุกข์ไม่มี
ความรำคาญก็ไม่มีแต่อย่างใด
นิพพานสองคือ
ดับเบญจขันธ์ทั้ง
5
สิ้นแล้ว
จะอยู่เป็นพระอรหันต์ในโลกนี้แต่เพียงวินาทีเดียวเท่านั้นก็เข้าสู่พระนิพพาน
เป็นจบกันเท่านั้น
|
|
-
ผู้ปฏิบัติเสร็จแล้วจิตใจก็เสร็จแล้ว
แต่เมื่อยังครองธาตุสังขารกายเวทนาอยู่ในโลกนี้ เบญจขันธ์ก็ยังมีอยู่
ความทุกข์ความรำคาญใจก็ต้องยังมีอยู่
จึงพิจารณาให้รู้ซึ่งโลกและรู้ซึ่งธรรมว่าอะไรเป็นอะไร
ก็เพราะธาตุสังขารกายเวทนายังไม่ตายนั้นเอง ความทุกข์ความรำคาญใจถึงต้องมีอยู่เป็นของคู่กับโลก
ถ้าโลกกายสังขารแตกดับเมื่อไร
ผู้ปฏิบัติก็ต้องละออกจากเบญจขันธ์เมื่อนั้น เรียกว่าพ้นจากทุกข์ไปแล้ว
ภพหน้าภพหลังไม่มีอีกแล้วสิ้นจากทุกข์ทั้งปวงฯ
|
|
-
ยังมีอีกอย่างหนึ่ง
เมื่อสังขารเราท่านยังอยู่เราต้องนึกคิดอยู่เนืองๆ
เราจะบิณฑบาตมาฉัน เราจะครองห่มผ้าบังสุกุลที่โยมอุบาสกอุบาสิกา
นำมาถวายตามไทยทานต่างๆ
เราจะอยู่โคนไม้หรือเป็นที่ญาติโยมสร้างถวาย
เราจะฉันยาดองด้วยน้ำมูตเน่าหรือยาที่ญาติโยมนำมาถวาย
เพื่อกันเวทนานักบวชชาย-หญิงสมควรนึกคิดอยู่เนืองๆ
สิ่งที่จะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันนั้นมีอยู่
5 อย่างด้วยกันคือ
อาหาร 1 การนุ่งห่ม
1 เครื่องใช้
1 ที่อยู่อาศัยไปมา
1 เรื่องโจทย์กันในธัมมะที่ไม่อาจจะตกลงกันได้
1
ห้าอย่างนี้
นักบวชชาย-หญิงสมควรพิจารณาอยู่เป็นเนืองๆ
เพราะเราอยู่ในโลกนี้
ต้องประสบพบเห็นไม่มากก็น้อย
เป็นเหตุให้เกิดทุกข์และเศร้าใจตนได้เพราะธรรมนอก
5 ประการนั้นเอง
ธรรมนอกที่กล่าวมานั้นเป็นเหตุให้เข้าไปสู่ธรรมในให้เกิดความเศร้าใจ
ให้เข้าไปสู่ธรรมให้เกิดเป็นเวร-รักก็เป็นเวร-เกลียดก็เป็นเวร
ติดต่อกันไปไม่มีทางจะจบลงได้แต่อย่างใด
ผู้ปฏิบัติชาย-หญิงให้รู้ธรรมนอกด้วย
ให้รู้ธรรมในด้วย
ให้รู้ธรรมในธรรมด้วย
เหตุที่พอใจก็มีเหตุที่ไม่พอใจก็มี
เป็นเหตุให้ธรรมในเกิดขึ้นเข้าสู่ธรรมในธรรม ถ้าจิตไม่เที่ยงธรรมทั้งหลายก็ไม่เที่ยงเช่นกัน
ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นหลักเป็นมูลเรียกว่าธรรมนอก
ธรรมทั้งหลายเหล่านี้
ทำให้จิตใจของมนุษย์และสัตว์เวียนว่ายเกิดตายอยู่ในภพทั้งสามนี้ฯ
|
|
-
ยังมีธรรมอีกเหล่าหนึ่ง
ตาเราเห็นหู
ได้ยินนี้เป็นธรรมนอก
ตาเห็นเราก็รู้หูได้ยินเราก็รู้
อะไรๆ
เราก็รู้เรียกว่าธรรมใน
ให้วางเฉยเสียได้เรียกว่าธรรมในธรรม
นักบวชทั้งหลายสมควรพิจารณาให้รู้แจ้งด้วย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า...เธอพึงรู้ธรรมนอกด้วย
พึงรู้ธรรมในด้วย พึงรู้ธรรมในธรรมด้วยว่าเป็นไฉน .
ดังนี้ผู้ปฏิบัติทั้งหลายให้สนใจพิจารณาให้รู้ให้เห็นว่าอะไรเป็นอะไรให้รู้ด้วยฯ
|
|
-
มนุษย์และสัตว์ที่เกิดมาต้องมีกายเวทนาจิตธรรม
ถ้าเราท่านไม่มาเกิด
กายเวทนาจิตธรรมก็ไม่มี
เพราะกายเวทนาจิตธรรมนี้
เป็นแต่เพียงเหตุผลเท่านั้น
เหตุให้เกิดการกระทำผลเป็นการพลอยรับ
ในการกระทำขึ้นในสิ่งนั้นๆ
เหตุดี-ผลก็ดี
เหตุชั่ว-ผลก็ชั่ว
เพราะความเกิดนั้นเองท่านเรียกว่ามหาสติปัฏฐานสี่
เป็นธรรมก่อให้เกิดของมนุษย์และสัตว์ด้วยมูลต่างๆ
มิใช่ทางของผู้จะเข้าพระนิพพานแต่อย่างใด มหาสติปัฏฐานสี่กายเวทนาจิตธรรมนี้ เป็นเหตุผลของเกิดพระนิพพานไม่มีเหตุผลของเกิด
เมื่อจะจำแนกไปมากๆ ก็เกรงว่าผู้ปฏิบัติชาย-หญิงจะเดินผิดทางพระนิพพาน
เพราะไปหลงอยู่ในธรรมมหาสติปัฏฐานสี่
อันเป็นทางมนุษย์และสัตว์เวียนว่ายเกิดตายอยู่ เพราะเหตุผลของความเกิดนั้นเอง
พระนิพพานไม่มีเหตุผลให้เกิดแต่อย่างใดเรียกว่าดับสนิทนั้นเอง
ไม่มีเหตุผลของความเกิดแต่อย่างใด
ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุดับเพราะเหตุ
ผู้ปฏิบัติให้ดับเหตุนั้นเสีย
ผลจะเกิดขึ้นอีกนั่นย่อมไม่มีนะท่านชาย-หญิง ให้พิจารณาไปตามทางโลกุตรธรรม
แปลว่าทำทางนิพพานให้แจ้งให้สว่างด้วยตนเอง เรียกว่าหนึ่งไม่มีสองเป็นทางสายเดียว เหตุจะเกิดเหตุจะดับก็ไม่มี
มีแต่ความสว่างอย่างเดียว
เหตุจะเกิดจะดับก็ไม่มีฯ
|
|
-
ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้ปฏิบัติผู้สนใจ
จงพิจารณาในคนๆ
เดียวหนึ่งไม่มีสองนี้เสียก่อน
ว่ามันดีอย่างไร มันสุขอย่างไร
มันทุกข์อย่างไร
จงพิจารณาให้มันรู้ให้มันเห็นเสียก่อนว่าอะไรเป็นอะไร
ให้รู้ซึ้งในตนด้วยถึงจะจำแนกธรรมให้ผู้อื่นฟังได้
ให้รู้แจ้งในเหตุและผลไปตามตนด้วย
อีกอย่างหนึ่งผู้ปฏิบัติสมควรพิจารณาในทางพระนิพพาน
ให้แจ้ง-ให้สว่าง-ให้รู้-ให้เห็นให้ชัดเจน
ว่ามันสุขอย่างไร สบายอย่างไร
มันเพลิดเพลินอย่างไร ให้รู้แจ่มแจ้งชัดเจนเสียก่อนว่าอะไร
ถึงจะแนะนำบอกทางให้ผู้อื่น
รู้ไปตามความรู้ความเห็นความสุขความสบายได้อย่างแท้จริง
ผู้หลงโลกผู้หลงสังขารตนและผู้อื่นอยู่นี้
เปรียบได้เหมือนคนตาบอด
เราจะนำพาหรือจะจูงไปสักแค่ไหน
ไกลแสนไกลก็ไม่มีแสงสว่างเห็นทางไปได้แต่อย่างใด คนหลงโลกคนหลงสังขาร
จะไปเห็นทางนิพพานแก่ท่านผู้อื่น
ท่านเหล่านั้นก็ต้องกลับมาถกเราว่า
จะเอาตัวรอดแต่ผู้เดียวไม่ช่วยผู้อื่นเขาเลยดังนี้ หมู่ท่านเหล่านี้ร้ายยิ่งกว่าผู้ตาบอดที่กล่าวมานั้นเสียอีก
เพราะทางนิพพานเป็นทางคนๆ
เดียว
ในท่านผู้ปฏิบัติที่ทำทางพระนิพพานยังไม่แจ้ง ก็ต้องมีจิตใจหวั่นไหวต่อคำพูดของผู้มืดเป็นแน่นอน
เพราะความสามารถของตนยังไม่มี
เว้นไว้แต่ผู้ที่ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้วเท่านั้น ถึงจะไม่หวั่นไหวต่อคำพูดของหมู่ท่านเหล่านั้นแต่อย่างใด
แต่ผู้รู้จากการได้ยินได้ฟังตามคำพูดที่ท่านได้กล่าวมา
หรือได้เห็นได้อ่านตามตำรับตำราที่ตนได้อ่าน จำได้หมายรู้ว่าพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
เราก็ไปนึกเอา-เดาเอาไปตามอาการนั้นๆ
แต่คนยังมิได้ปฏิบัติพิจารณาให้รู้แจ้งแห่งทางพระนิพพานแต่อย่างใด
ก็เป็นวิจิกิจฉาความสงสัยไม่แน่เป็นความจริงไปได้
อาจหลงไปตามคำพูดของผู้อื่นที่ยังจมอยู่ในตัณหาอวิชชา
ตามหมู่ท่านเหล่านั้นไปเสียก็เป็นได้
เพราะตนมิได้พิจารณาทำพระนิพพานให้แจ้งเสียก่อนนั้นเอง
พระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้ว่า
พระนิพพานนั้นไปได้แต่ผู้เดียว
เป็นคนคนเดียวดังนี้ฯ
|
|
-
ผู้ปฏิบัติทั้งหลายชายหญิงก็ดี
ที่เราได้ยินได้ฟังมาก็ดี
ให้พิจารณาในทางคนคนเดียวหนึ่งไม่มีสองพรหมจรรย์นี้เสียก่อน
จนจิตใจเราเป็นหนึ่งให้ได้ชัดเจน
ให้รู้ว่าเรานี้เป็นคนๆ
เดียวเดินทางสายเดียว-เดินทางจรคนเดียว
ข้ามโลกอุดรเป็นทางเปลี่ยวห่างไกลจากโลกภพทั้งสาม
ผ่านจากถิ่นกันดารด้วยความปราศจากของผู้ปฏิบัติเองทุกๆ
ท่าน
มองเห็นเห็นด้วยจิตใจของตนเสียก่อน
ให้รู้แจ่มแจ้งว่าเราเป็นผู้ปฏิบัตินี้เป็นผู้เดินทางคนๆ
เดียวอย่างแท้จริง
แม้แต่จะมองหน้ามองหลังก็ตามมิได้พบพานเห็นสิ่งใดใด
เป็นทางว่างห่างไกลเห็นได้แต่ตนผู้เดียว
เหมือนจิตใจเราปราศจากสังขารไปแล้วนั้นเอง เรียกว่าผู้ปฏิบัติจากตัณหาไปแล้ว
จิตก็ห่างไกลจะรู้ได้ด้วยตนเอง
ท่านเรียกว่าจิตวิเวก
ข้ามจากโลกอุดรเข้าสู่นิพพานธรรมเรียกว่า
สังขตธรรม
เรียกว่าจิตออกจาก
ภังคะ
คือความห่างไกล
ท่านเรียกว่ามัคคญาณ
เป็นความหยั่งรู้ว่า
นี้เป็นทางคนๆ
เดียวหนึ่งไม่มีสอง
จะบังเกิดขึ้นแก่จิตของผู้ปฏิบัติเอง
จะเห็น-จะรู้-จะแจ้งแก่จิตด้วยตนเอง
ถึงได้แนะนำให้จิตผู้ปฏิบัตินักบวชชาย-หญิง
ให้มีสติสัมปชัญญะปัญญาให้รู้แจ้งถึงให้จิตใจของให้ว่างวางเฉย
เอาสิ่งไม่มีมาเป็นที่ตั้ง
ทางสายนี้เรียกว่าเป็นทางคนๆ
เดียว
หนึ่งไม่มีสอง ถึงได้ให้น้อมนึกเอาพระพุทธ
พระธรรม
พระอริยสงฆ์ว่าเป็นสรณะที่พึ่ง
ให้ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
ให้พิจารณาทางพระนิพพานให้แจ้งให้ชัดเจนด้วยดังนี้
ญาณที่ 1. ก็จะเกิดขึ้นแก่จิตใจ
เรียกว่า
มัคคามัคคญาณ
นึกรู้ด้วยตนเองว่าหนึ่งไม่มีสองเป็นสุขอย่างยิ่ง
มีจิตน้อมนึกถึงหนึ่งไม่มีสอง
เวลาใดความสว่างก็จะเกิดขึ้นอยู่ทุกขณะ
ญาณที่ 2. เป็นญาณภังคญาณ
มีจิตใจรู้ว่าเราวางเฉยได้แล้ว
เป็นญาณเอกัคคตาญาณ
รู้ในความรู้ว่าปลอดโปร่ง-โล่งเบา
ไม่เศร้าใจแต่อย่างใด
ญาณที่ 3. รู้แจ้งในสิ่งที่ไม่มีว่าเป็นทางสงบได้อย่างแท้จริง
สิ่งอันใดจะสงบยิ่งกว่าความไม่มีนั้นย่อมไม่มี
ญาณนี้เรียกว่า
ญาณวิมุตติญาณ
เกิดขึ้นแก่จิตของผู้ปฏิบัติเอง
ญาณที่ 4. เกิดขึ้นเพราะผู้ปฏิบัติจิตใจน้อมนึกเอาพระพุทธ
พระธรรม
พระอริยะสงฆ์
ว่าเป็นสรณะที่พึ่งสิ่งอื่นจะยิ่งกว่าย่อมไม่มี
เอานิพพานเป็นที่สุดเรียกว่าญาณเก้า
จะรู้พระนิพพานได้อย่างชัดเจน
จิตจะกลับเวียนว่ายเกิดตายนั้นย่อมไม่มี
รู้ได้ด้วยตนเองฯ
|
|
-
ดูก่อนท่านชาย-หญิง
จิตที่ว่างที่นิ่งๆ
นั้น
มิใช่สมาธิกรรมฐานวิปัสสนาในทางปฏิบัติ
ศีล-สมาธิ-ปัญญา
แต่อย่างใดนะท่านชาย-หญิง จิตนิ่งๆ
นั้นเปรียบเหมือนปลาช่อนตัวใหญ่ที่เขากักขังไว้ในอ่าง
ธรรมชาติของปลานั้นมันก็อยู่นิ่งๆ
จิตของผู้ปฏิบัติชาย-หญิงจะไปกำหนดของตนนั้น
ให้มันนิ่งเหมือนปลาช่อนนั้นมันไม่ใช่ทางสมาธิ ปลาช่อนกับจิตที่นิ่งๆ
นั้น
เปรียบได้เหมือนกันกับปลาช่อนที่ถูกขังอยู่ในอ่างนั้นเอง
ถ้ากระทบทาง
ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ
เมื่อไหร่
ปลาช่อนที่อยู่ในอ่างนั้นก็จะกระโจนออกจากอ่างไปทันทีทันใด
จิตใจผู้ปฏิบัติชาย-หญิงที่ประสงค์จะให้จิตใจของตนอยู่นิ่งๆ
ก็ต้องเป็นไปเหมือนปลาช่อนที่อยู่ในอ่างนั้นเอง เพราะความนึกคิดความหวังของตนว่าต้องเป็นไปอย่างนั้น
ถึงเป็นสมาธิกรรมฐานวิปัสสนา
ต้องทำจิตของตนให้นิ่งๆ
อันเป็นความนึกคิดของตัณหาพญามารที่เข้าแทรกแซงจิตใจของมนุษย์และสัตว์อยู่
เขาให้ความเห็นว่าเป็นไปอย่างนั้น
ถ้าไม่เชื่อพิจารณาดูให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ที่ทำจิตให้นิ่งๆ
ก็เหมือนเขาขังปลาช่อนตัวใหญ่ไว้ในอ่างที่มีน้ำพอหล่อเลี้ยงไว้
พอมีคนไปแตะต้องนิดหน่อย
ก็กระโจนออกจากอ่างไปเท่านั้น
ก็จะเดือดร้อนตนเอง
จิตนิ่งๆ
นั้นมิใช่จิตสงบนะท่าน
จิตจะสงบนั้นต้องให้จิตเราเดินไปตาม
ศีล-สมาธิ-ปัญญา
เป็นทางตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์วางสายทางไว้ให้แก่หมู่เราท่าน
ให้ปฏิบัติเดินตามไปให้ได้
ออกจากทุกข์สมุทัยเข้าสู่นิโรธมรรคเท่านั้น ท่านจงพิจารณาไปมัคคญาณ
ให้เกิดความรู้แจ้งด้วยปัญญาญาณนิโรธคือความละเว้น หนึ่งให้ละเว้นออกจากทุกข์สมุทัยให้ได้
1
สองปราศจาก 1 ให้ปราศจากทุกข์สมุทัยให้ได้
1
สามให้ส่งคืน
1 ให้ส่งคืนทุกข์สมุทัยให้ได้
1 สี่อย่าอาลัยในสิ่งเหล่านั้น
1 เราอย่าไปอาลัยในทุกข์สมุทัย
1 ปฏิบัติจิตใจเราให้มีสติความน้อมนึกได้
1 สัมปชัญญะความรู้ตัวอยู่
1 ปัญญาที่รู้เท่าทันสังขาร
1
เดินเข้าสู่มรรค
(มรรคคือทางศีลสมาธิปัญญานั้นเอง) ผู้ปฏิบัติชายหญิงนักบวชทั้งหลาย
จงกระทำจิตของตนให้ว่าง
ตาเราเห็นเราก็รู้
หูได้ยินเราก็รู้
อะไรๆ
เราก็รู้ให้วางเฉย
ให้ยกจิตใจเราเข้าสู่เกาะธรรมคือ
เอาสิ่งไม่มี ให้เอาพระพุทธ
พระธรรม
พระอริยสงฆ์ว่าเป็นสรณะที่พึ่งของจิตใจเรา ให้ยึดพระนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นสิ่งที่สุดไม่มีอีกต่อไป
ตัวตนของเราท่านคือจิตกับใจนั้นเอง
จิตเป็นไฟ
ใจเป็นลม
เป็นความรู้แจ้งในดวงตาเห็นธรรม
เป็นญาณหยั่งรู้
รู้ธรรมอันไม่ตาย
ผู้ปฏิบัติในทางสายนี้ต้องเป็นผู้ละ
สักกายะทิฐิวิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส ได้อย่างแท้จริงทางปฏิบัติสายนี้
เป็นทางพุทธศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ พร้อมทั้งสาวกภิกษุ-ภิกษุณี
ทุกพระองค์นะท่านชาย-หญิง
เรียกว่าเข้าสู่พระนิพพาน
ในทางพุทธศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้า
คือนิพพานโดยสมบูรณ์ฯ
|
|
-
มนุษย์ชาย-หญิงรูปที่ตายแตกดับไปก็มี
รูปที่ไม่ตายก็มี
รูปที่ตายนั้นคือธาตุสี่
ดิน 1 น้ำ 1
ไฟธาตุ 1
ลมในกองธาตุ 1 รวมกันเป็นรูปชาย-หญิงอย่างเราท่านอยู่ในโลกด้วยกันอย่างในทุกวันนี้เอง
รูปที่ไม่ตายนั้นคือ
ลมหายใจเข้าออก
1 ไฟที่เกิดความนึกคิด
1 จิต 1
เจตสิก 1 สี่อย่างนี้รวมกันเป็นรูป
เรียกว่าเป็นตัวจริงของเราท่านรูปนี้ไม่ตาย คือรูปที่มาปฏิสนธิอยู่ในร่างกายของมนุษย์อีกต่อหนึ่ง
ท่านเรียกว่ารูปในรูปเป็นตัวตนเขา
รูปนี้ตายไม่เป็น
สนธิอยู่ด้วยบุญกุศลที่เรากระทำไว้ดีหรือชั่ว
ติดที่ไหนสนธิที่นั่น
ถ้าไม่ติดก็คือความสุขนั้นเอง
|
|