-
การปฏิบัติกรรมฐานห้า
|
|
-
เกศา โลมา
นะขา ทันตา ตะโจ
|
|
-
ตะโจ ทันตา
นะขา โลมา เกศา
|
|
-
กรรมฐานห้าของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่ท่านได้กำหนดไว้ในพระพุทธศาสนา
ได้ตกทอดมาตามอุปัชฌาย์ทุกๆ
องค์
เป็นมรดกอันล้ำค่ายิ่งหาที่เปรียบไม่ได้
เพื่อมอบต่อให้พระภิกษุ-สามเณร-ชี-พราหมณ์-อุบาสก-อุบาสิกา
ตราบกระทั่งทุกวันนี้
ท่านผู้ทรงศีลทุกๆ
ท่านที่ได้รับมาแล้ว
บางท่านก็สนใจ
บางท่านก็ไม่สนใจเลย
ผู้ไม่สนใจก็คงไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
อุปมาอุปไมยเหมือนไก่ได้เพชร-พลอยที่มีค่าสูง
แต่ไม่ยอมรับรู้ในคุณค่าของเพชร-พลอยนั้นเลย
คงจะกล่าวประมาทว่า
เพชร-พลอย
นี้หาประโยชน์อันใดมิได้เลย
สู้ข้าวเปลือกเพียงเมล็ดเดียวก็ไม่ได้
เปรียบเหมือนคนตาบอดที่ไม่สามารถมองเห็นตนเอง
เพียงแต่ใช้มือคลำๆ
ดูจะไปรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
ความหมายนี้คงเหมือนกับชีวิตของอาตมาในอดีต
ซึ่งได้เป็นผู้ที่สนใจในทางปฏิบัติมาหลายสิ่งหลายอย่าง
บางท่านก็กล่าวว่า
กรรมฐานอย่างโน้นดีอย่างนี้ก็ดี
อาตมาก็ได้เพียรฝึกหัดมาด้วยกันทั้งนั้นเช่น
กสินกรรมฐาน
อสุภกรรมฐาน
ญาณสี่กรรมฐาน
แต่ก็ไม่บรรลุอะไรเลยในทาง
นิพพิทา
เพราะไปเชื่ออย่างโน้นอย่างนี้
ตามที่มีผู้ที่ได้บอกกล่าวไว้ลูบๆ
คลำๆ ไปเรื่อยๆ
ไม่รู้ว่าจะเอาวิธีไหนกันแน่
|
|
-
อาตมาได้เริ่มปฏิบัติกรรมฐานมาตั้งแต่อายุได้
20
ปี
แต่มิได้บรรลุในธรรมอะไรเลย
ดังได้กล่าวแล้ว
กระทั่งอาตมามีอายุได้
45 ปี
จึงได้เข้าสู่เพศพรหมจรรย์
จนเวลาได้ล่วงเลยมาแล้วถึง
4 ปีเต็ม
ความสว่างในดวงธรรมก็ไม่เกิดขึ้นเลย
จึงได้พิจารณาในตนว่าเรานี้ยังขาดตกบกพร่องอะไรอยู่อีก
อันเป็นเหตุที่ทำให้ไม่เกิดความสว่างในดวงธรรม
ไม่เกิดนิพพิทาเบื่อหน่ายอะไรเลยแม้แต่เพียงอย่างเดียว
การพินิจพิจารณาภายในตัวของตัวเองจึงพบว่า
ศีล นี่เอง
เพราะเราไม่เอื้อเฟื้อในศีลสิกขาบทเลย
เมื่อเราได้พบสิ่งที่บกพร่องภายในตัวของเราแล้ว
ถ้าไม่คิดแก้ไขเสียให้เรียบร้อย
เรานี้คงจะไม่พบแสงสว่างเปรียบเหมือนคนตาบอดเป็นแน่
จึงได้คิดตั้ง
สัจธรรม
ขึ้นใหม่อีก
โดย สมุจเฉทวิรัติ
เอาศีลมาเป็นหลัก
อาตมานี้จะขอละตามศีลสิกขาบทให้ได้เป็นเด็ดขาด
แม้แต่สังขารเลือดเนื้อของอาตมาจะต้องแตกดับไปก็ตาม
เมื่อได้อธิษฐานจิตเรียบร้อยแล้ว
ก็มุ่งหน้าทำสมาธิกรรมฐานห้าต่อไป
เพื่อจะนำจิตใจออกจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ห้ามไว้ในศีลสิกขาบท
10 ประการนี้
ทุกอิริยาบถคือ
ยืน-เดิน-นั่ง-นอน
ก็ให้อยู่ในสมาธิเสมอไปมิได้ขาด
ได้ปฏิบัติอยู่เช่นนั้นเป็นเวลาถึงหนึ่งปีเต็มจิตใจจึงเกิด
นิพพิทา
ขึ้นในกิเลสกาม
ต่อมาอีก 3 ปีจิตใจจึงไม่ยินดียินร้ายในกิเลสกามและวัตถุกาม
ความสว่างก็บังเกิดขึ้นภายในกายของอาตมา
เป็นเหตุให้รู้แจ้งเห็นจริงในกองสังขารของตน
และของผู้อื่นอย่างชัดเจน
ความสว่างหรือความแจ่มแจ้งนั้นมิได้สูญหายเลยแต่ประการใด
ถ้า ศีล
ได้บังเกิดขึ้นภายในจิตใจของผู้ปฏิบัติแล้ว
ความมืดในตัณหาย่อมไม่มีแก่ท่านผู้นั้นเลย
|
|
-
ผู้ปฏิบัติในกรรมฐานห้าโลกุตรธรรม
ตามศีลสิกขาบท
10
ประการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
การบังเกิดความสว่างไสวนั้นมีอยู่หลายประการด้วยกัน
สุดที่จะพรรณนาให้ทั่วถึงได้
สิ่งที่บังเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติแต่ละท่าน
ย่อมไม่เหมือนกันหรืออาจจะเหมือนกันก็ได้
แต่จุดหมายปลายทางคงเหมือนกันคือ
พระนิพพาน
นั่นเอง.
|
|
-
อาตมานี้เป็นผู้เห็นชอบในกรรมฐานห้า
ศีลสิกขาบท 10
ประการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะได้รับประโยชน์ที่เกิดขึ้นในพระธรรม-พระวินัย
อาตมานี้เป็นผู้ที่มีความเชื่อในครูบาอาจารย์อย่างยิ่ง
ซึ่งท่านได้แนะนำไว้ว่า
ท่านอย่าไปเล่าเรียนตามตำราก่อน
ในเมื่อกรรมฐานการปฏิบัติยังไม่บังเกิด
ถ้าเราได้เรียนรู้ตามตำราเสียก่อนแล้ว
มันจะเกิดความยึดมั่นถือมั่นใน
อุปาทาน
จากธรรมที่ตนได้เล่าเรียนมาและจะเดาเอาว่าตนนั้นได้มีความรอบรู้ในพระธรรม-พระวินัย
ได้บรรลุในสมาธิกรรมฐาน
เลยเกียจคร้านไม่ปรารภความเพียรในสมาธิกรรมฐาน
ความรู้เช่นนั้นมันปิดบังไว้มิให้เกิดความสว่าง
รู้แจ้งเห็นจริงในสังขารของตนและผู้อื่น
มันเป็นธรรมจริต
ในที่สุดเลยกลับกลายเป็น
อวิชชา
คือความมืดแห่งตัณหาทั้งปวง
ไม่เกิดความบีฑาเบื่อหน่ายในกายาว่าเป็นทุกข์
พระพุทธองค์ท่านได้ทรงบัญญัติสมาธิกรรมฐานห้าไว้ให้แก่พระภิกษุ-สามเณร-ชี-พราหมณ์
ผู้ทรงศีลจะได้สำรวมกายวาจาและใจให้รู้เท่าทันสังขารว่า
ความเกิดก็เป็นทุกข์
ความแก่ก็เป็นทุกข์
ความเจ็บก็เป็นทุกข์
และความตายจะมาถึงก็จะเป็นทุกข์เช่นเดียวกัน
ความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาจากตำรานั้นเป็นความรู้ที่ได้จดจำมาและบางครั้งก็อาจจะหลงลืมได้ง่ายๆ
เพราะเป็นความรู้อย่างผิวเผิน
ย่อมไม่มีความรู้แจ้งเห็นจริงในอนิจจัง
อนัตตา
เมื่อสังขารกายาแตกดับแล้ว
ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกอย่างน่าสงสารแท้
-
กรรมฐานห้านี้มีประโยชน์มากมายมหาศาล
ผู้ประพฤติปฏิบัติได้ย่อมรู้ทุกข์ทั้งปวง
สามารถออกจากทุกข์ได้เป็นเด็ดขาด
เพราะความสว่างในทางปฏิบัตินั้นมีอยู่
พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ทรงมอบสมบัติอันล้ำค่านี้ไว้แก่
ท่านอุปัชฌาย์เพื่อให้แนะนำสั่งสอนพระภิกษุ-สมาเณรผู้ทรงศีล
จะได้พินิจพิจารณาหาทางหลุดพ้นเสียจากกองทุกข์มุ่งลัดตัดตรงข้ามภพทั้งสาม
( กามภพ
รูปภพ
และ
อรูปภพ ) เข้าสู่เมืองแก้วคือพระนิพพาน
ย่อมเป็นสุขอย่างยิ่ง
ตรงกับคำว่า นิพานํ
ปรมํ สุขํ
|
|