เปิดหน้าถ้ำพระคัมภีร์

 

คัมภีร์ที่ 1.  คือ พระสังภิณี คือ ตา

 

คัมภีร์ที่ 2.  คือ พระวิภังค์ คือ หู

 

คัมภีร์ที่ 3.  คือพระธาติคาถา คือจมูก

 

คัมภีร์ที่ 4.  คือพระบุคคะละบัญญัติ คือปากกับลิ้น

 

คัมภีร์ที่ 5. คือพระคาถาวัตถุ คือกายสังขาร

 

คัมภีร์ที่ 6.  คือพระยมก คือหัวใจ

 

คัมภีร์ที่ 7. คือพระมหาสติปัฎฐานสี่คือ-ลมหายใจเข้าออกนั้นเอง

              รวมกันเป็นเจ็ดคัมภีร์พอดี  เพราะว่ามนุษย์ชาย-หญิงมีชาติก่อเกิดรวมกันเป็นสังขารเป็นรูปกายเวทนา และมีจิตมีอะไรเป็นอะไรตั้งแต่เกศาลง ไปถึงปลายเท้ามีอยู่ทุกคนไป  มีวิญญาณคือตัวรู้เห็นตัวได้ยิน  ตัวนึกคิดมีอยู่พร้อมทุกตัวคน   พระพุทธเจ้าจำแนกธรรมออกมาเป็นคัมภีร์  คัมภีร์ก็จำแนกออกมาตามวิญญาณทั้งเจ็ดนั้นเอง เพราะว่าวิญญาณเป็นตัวรู้ตัวเห็นตัวบัญญัติ  ก็มีให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นรู้ได้ทางวิญญาณทั้งเจ็ดนั้นเอง  คือวิญญาณทางตา  วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก   วิญญาณทางลิ้น  วิญญาณทางกาย  วิญญาณทางใจ  วิญญาณทางลมหายใจเข้าออก  จำแนกเป็นธรรมเจ็ดคัมภีร์ คัมภีร์ที่เจ็ดมีเรื่องกายเวทนาจิตธรรม  มีจิตต้องมีเจตสิกมีเจตสิกต้องมีรูป  มีรูปต้องมีนิพพานตามพระธรรมบัญญัติไว้ พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้แล้วก็มาเป็นผู้จำแนกธรรมออกมาให้มนุษย์-เทวดา-อินทร์-พรหม  ได้รู้ตาม ๆ  กันมาทุกวันนี้ตามพระธรรมบัญญัติ คือพระธรรมบัญญัติไว้แล้วไม่มีท่านเหล่าใดจะจำแนกได้  มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะจำแนกได้ หมู่เราท่านถึงได้รู้สืบต่อ ๆ  กันมาเท่าทุกวันนี้ ฯ

 

               ส่วนศีลพระวินัยสิกขาบทเป็นของพระพุทธเจ้าบัญญัติมา  ตามพระธรรมเจ็ดคัมภีร์นั้นเอง ที่เห็นที่ได้ยินที่นึกคิดขึ้นใน กุศลจิต-อกุศลจิต  ตามแต่ละคัมภีร์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น โดยพุทธบัญญัติตามคัมภีร์นั้น ๆ  ส่วนพระปรมัตถ์ทางโลกุตตระธรรมนั้นมาจากเบญจขันธ์คือ  รูป 1  เวทนา 1  สัญญา 1  สังขาร 1  วิญญาณ 1  มาจากพระธรรมบัญญัติ พุทธบัญญัติด้วยเพราะว่าเป็นธรรมใน-ธรรมในธรรม  มาจากที่กล่าวมานั้นมาตั้งเป็นคัมภีร์พระปรมัตถ์ไว้ให้แก่หมู่เราท่านเท่าทุก ๆ วันนี้ คือเป็นที่มาของแต่ละคัมภีร์ตามพระพุทธเจ้า จำแนกไว้มาจำแนกเป็นสายทางปฏิบัติจิตไว้  ส่วนพระสูตรนั้นมาจากธาตุดิน-ธาตุน้ำ-ธาตุลม-ธาตุไฟ  อากาศธาตุ  วิญญาณธาตุ พระพุทธเจ้าท่านจำแนกไว้เป็นคัมภีร์พระสูตร  เพราะมนุษย์และสัตว์เกิดในกามภพนี้ต้องอาศัยธาตุเหล่านี้ ส่วนกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปดนั้นเป็นสภาวะตัณหา วิภาวะตัณหา โดยเป็นไปตามสภาวะนั้นต่อ ๆ  ไป เพราะมนุษย์และสัตว์เวียนว่ายเกิดตายหลงอยู่ในภพทั้งสามนี้จะหาทางสิ้นสุดลงมิได้เลย  เพราะหลงอยู่ในพระสูตรแห่งธรรมทั้งปวง เกิดที่ใดสนธิที่นั้นเกิดที่ใดติดที่นั้น ติดต่อกันอยู่เสมอ ๆ  ไปตามธาตุนั้น ๆ  เพราะความหลงของตนเอง “ตามพุทธเจ้าบัญญัติมาในทางโลกุตระธรรมว่า  เกิดที่ใดสนธิที่ใดให้ดับที่นั้น เกิดที่ใดติดที่นั้นให้ละเสียจากที่นั้น”

 

               ผู้ปฏิบัติทั้งหลายให้สนใจในธรรมเหล่านี้ให้มาก ๆ  เราถึงจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร  เกิดที่ใดสนธิที่นั้น  ถ้าเราไม่ดับเราก็ยังไม่รู้ว่า  อะไรเป็นอะไรอยู่นั้นเอง  เราจะดับลงไปชั่วคราวหรือเป็นระยะ ๆ  ก็ยังดีกว่าไม่ดับเสียเลย เมื่อเราดับชั่วคราวนั้นได้เราก็พิจารณาว่าอะไรเป็นอะไรมีคุณอย่างไรมีโทษอย่างไร  มันเป็นทุกข์ หรือมันเป็นสุขเราจะได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเสียบ้าง  ความเกิดก็เป็นทุกข์อย่างนี้ท่านรู้กันได้หรือยัง  ความแก่ก็เป็นทุกข์เช่นนี้ ความเจ็บก็เป็นทุกข์อย่างนี้ท่านก็ต้องรู้กันได้ทุกตัวคน  ความตายก็เป็นทุกข์อย่างนี้ท่านหารู้กันได้ไม่ อะไรเป็นอะไรกายเวทนาอย่างนี้ท่านก็หารู้กันได้ไม่  ว่ามันเป็นทุกข์หรือมันเป็นสุข ให้รู้ด้วยให้พิจารณาในกายตนและผู้อื่นให้เกิดความบีฑาเบื่อหน่าย คลายจากความกำหนัดในกายตนและผู้อื่นกันบ้าง  เมื่อเราละหรือปล่อยวางกายเสียได้แล้ว  เราก็จะรู้โทษแห่งกายทั้งหลายเหล่านั้นได้ว่าไม่เป็นที่น่าพึงปรารถนาเลยหนอดังนี้ เราก็จะส่งคืนออกไปเสียได้เราก็จะไม่อาลัยในสิ่งเหล่านั้นได้  เราจะได้รู้ทางพ้นออกจากกองทุกข์  ได้ด้วยปัญญาของผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะว่ากายที่มีลมหายใจอยู่นั้นมันมีไฟอยู่ 5  กอง  มันถึงได้เกิดช๊อตซึ่งกันและกันอยู่อย่างไม่หยุดหย่อน  รักบ้าง  เกลียดบ้าง   ก็เพราะไฟ กามตัณหา 1  ไฟโลภะ 1  ไฟโทสะ 1  ไฟโมหะ 1  ไฟธาตุที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย 1  ไฟเหล่านี้แหล่ะที่เผาหมู่สัตว์ให้หลงเกิดหลงตายกันอยู่โดยไม่รู้สึกตัว หลงติดอยู่ในกายตนและผู้อื่นว่าเป็นที่รักที่พึ่งของตนด้วย  ความมืดความหลงไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร  ถึงเมื่อสิ้นไฟดับสนิทไปแล้วไม่มีท่านเหล่าใดพึงปรารถนาพบอีกแล้ว  หมู่ท่านรู้กันได้หรือไม่ ปล่อยร่างกายทิ้งไว้เสมือนท่อนไม้ที่ถูกเผาไฟ  ไม่มีท่านเหล่าใดจะถูกหรือแตะต้องอีกได้แล้วดังนี้ ไฟที่ดับนี้มันเป็นไฟของกองธาตุร่างกายเวทนาเท่านั้น  ส่วนไฟ 4  กองนั้นมิได้ดับแต่ประการใด ต้องติดตามจิตใจของท่านไปตามภพตามภูมิต่อ ๆ  ไปอีก ไฟเหล่านั้นจะติดตามเผาเราท่านให้เร่าร้อนอยู่ไม่หยุดหย่อน ถ้าเราไม่ดับมันเสียแล้วมันต้องเผาเราอยู่เสมอ ๆ  ไปนะท่านชาย-หญิง เพราะไฟกับลมเป็นมิตรกันอยู่ ถ้า ผู้ปฏิบัติท่านเหล่าใดจับลมหายใจเข้า-ออกที่ปฏิสนธิอยู่ในกายเวทนาได้แล้ว จะรู้ไฟห้ากองนี้มันเผาจิตใจท่านอยู่  จะรู้เหตุและผลในไฟเหล่านั้นว่ามันเป็นอย่างไร  ถ้าเราไม่รู้ซึ้งถึงไฟห้ากองนี้แล้ว เราก็จะไม่รู้ว่ามนุษย์และสัตว์  ทั้งหลายทีเกิดมากันอยู่ทุกวันนี้อะไรเผาสัตว์ให้เดือดร้อนอยู่ทุกคืนทุกวันนี้ ก็เพราะไฟที่กล่าวมานี้เองมันถึงได้มืดกันอยู่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร   ถ้าหมู่เราไม่ดับไฟนี้เสียก่อนเราจะไปรู้แสงสว่างแห่งไฟได้อย่างไรกันเล่า  มีแต่จะนึกเอาเดาเอาคาดคะเนเอา กล่าววาจาไปตามอาการนึกเอาเดาเอาอย่างนั้นเอง  ว่าเป็นอย่างนั้นว่าเป็นอย่างนี้ไม่รู้ว่าไฟที่เผาตนอยู่ทุกคืนทุกวัน ก็เพราะไฟสี่กองของตัณหาที่ทำให้เกิดซ่อมสุมกันอยู่ในเรื่องต่าง ๆ  เห็นผิดเป็นถูกยินดีไปต่าง ๆ  นานา  มืดมัวกันไปก็เพราะไฟของกามเป็นมูลฐานอยู่ทุกตัวสัตว์ไป  ผู้ปฏิบัติชาย-หญิงให้รู้ด้วย ถ้าท่านเหล่าใดไม่รู้ซึ้งถึงไฟเหล่านี้แล้วว่ามันอย่างไร  มันก็เผาจิตใจของหมู่ท่านอยู่ทำให้เกิดความรักความเกลียด  อยู่ในจิตใจของท่าน ให้เกิดลืมตนของตนจนถูกฆ่าถูกเผากันอยู่ออกมากมาย ฯ

 

               นักบวชชาย-หญิง  สมควรนึกคิดพิจารณาในตนของตนเสียบ้าง อย่าไปตามใจของตัณหาในความชอบโดยทางผิด ๆ  จงให้มีสติกันเสียบ้าง  ตนของตนเป็นที่พึ่งของตนอันนี้โดยถูกต้องให้น้อมนึกเอาไว้ มนุษย์และสัตว์อยู่ด้วยกันทุกวันนี้ต้องอาศัยธาตุทั้งสี่ ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ  เป็นมูลฐานเป็นเครื่องประกอบเป็นสัตว์เป็นมนุษย์อยู่ใน กามภพนี้ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น  เราต้องอาศัยลมกับไฟของธาตุที่เป็นอยู่ ถ้าไฟ-ลมแตกทะลายออกไปเสียแล้วธาตุน้ำและธาตุดินก็จะหมดปัญหากันไปทุก ๆ  อย่าง ส่วนจิตที่เป็นไฟใจเป็นลมที่ท่านมีความเกิดนึกคิดกันอยู่นี้ก็จะออกไป  ตามกุศลและอกุศล  เหตุผลที่ตนได้กระทำไว้ดีหรือชั่วนั้นเอง มนุษย์และสัตว์ต้องอาศัยลมกับไฟอยู่เสมอ ๆ  ไป  อยู่ในโลกนี้ต้องอาศัยลมกับไฟที่ปฏิสนธิอยู่ในร่างกายเวทนา ถ้าลมกับไฟของจิตใจนี้เขาอาศัยลมไฟของตัณหาราคะอยู่จิตใจของท่านชาย-หญิงนี้ก็จะ เวียนว่ายเกิดตายอยู่ในภพทั้งสามเหล่านี้อยู่เสมอ ๆ  ไป  จะหาทางสิ้นสุดลงไปมิได้เลยแต่ประการใด เพราะไฟตัณหา-ราคะ-โลภ-โกรธ-หลง ล้วนแต่เป็นไฟสภาวะเป็นที่น้อมนำไฟลมของจิตใจ  ของมนุษย์และสัตว์ให้หลงไปตามสภาวะนั้น ๆ  ย้อมจิตใจให้วนเวียนเกิดตายไปตาม  กุศลและอกุศลต่อ ๆ ไป ท่านผู้สงสัยในพระธรรมเจ็ดคัมภีร์นั้นว่ามาจากที่ใด  ตามพุทธบัญญัติจำแนกไว้มาจาก  ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ-ลมหายใจเข้าออก อย่างละคัมภีร์เป็นเจ็ดคัมภีร์แต่เป็นธรรมนอกอยู่  จงพิจารณาตามธรรมนอกนี้เสียก่อน อย่าไปถือว่าใคร ๆ  ก็รู้หรอกเช่นนี้เลยไม่พิจารณาว่าอะไรเป็นอะไร  ก็เลยไม่รู้ธรรมนอกว่าอะไรเป็นอะไร  ถ้าผู้ปฏิบัติไม่พิจารณาในธรรมนอกนี้เสียก่อน ให้มันรู้ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไรเสียก่อน จึงพิจารณาธรรมในและธรรมในธรรมต่อ ๆ  ไป จึงจะรู้ในธรรมทั้งปวงไปได้ธรรมนอกนี้มันรวมกันอยู่กับสังขารร่างกาย  เวทนาอยู่เป็นรูปมนุษย์และสัตว์นานาชนิดคือธรรมนอกนั้นเอง ให้พิจารณาธรรมนอกนี้เสียก่อนว่ามีเหตุมีผลอย่างไรบ้าง  เหตุดีผลก็ดี  เหตุชั่วผลก็ชั่ว ให้พิจารณาต่อ ๆ  ไปจนให้จบธรรมนอกนี้เสียก่อนแล้วจึงพิจารณาธรรมในต่อไป  และจงพิจารณาธรรมในธรรมต่อ ๆ  ไป ธรรมในนั้นคือวิญญาณทั้งเจ็ดนั่นเอง  วิญญาณคือตัวรู้นั้นเองเป็นธรรมใน ส่วนธรรมในธรรมนั้นคือจิต-เจตสิก-รูป-นิพพาน   นั้นเอง เป็นคัมภีร์ที่เจ็ดลมหายใจเข้าออกของมนุษย์และสัตว์ทั้งปวงนั้นเอง ผู้ปฏิบัติที่สนใจจะรู้ให้พิจารณาด้วยตนเองเพราะ  พระธรรมเจ็ดคัมภีร์นี้มีอยู่ในสังขาร  กาย  เวทนา  วิญญาณ  จิต เจตสิก มีอยู่ทุกตัวตนบุคคลเราเขาครบถ้วนบริบูรณ์อยู่แล้ว  ไม่ชายและหญิงมีสมบูรณ์ทุก ๆ  ท่าน ถ้าจะจำแนกไปมากกว่านี้ก็จะฟังไม่ออก  ขอให้พิจารณาเอาเอง  ถ้าพิจารณาแจ้งสว่างแล้วจะรู้ด้วยตนเอง ฯ

 

               ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุดับเพราะเหตุ  ธรรมทั้งหลายเกิดเพราะเหตุไม่มีเหตุไม่มีผล พระสูตร  พระวินัย  พระปรมัตถ์  ตามพระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นมานั้นมาจากที่ใด ให้ผู้ปฏิบัติชาย-หญิง  พิจารณากันดูบ้างมาจากที่ใด  พระสูตร  พระวินัย  มาจากทุกสัตว์เป็นเหตุให้เกิดทุกข์คือ ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ-ลมหายใจนั้นเอง  ให้พิจารณาถึงจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร  พระปรมัตถ์มาจากความจริงคือ ความเกิดเป็นทุกข์  ความแก่เป็นทุกข์  ความเจ็บเป็นทุกข์  ความตายเป็นทุกข์ พระปรมัตถ์มาจากทุกข์อริยสัจสี่แห่งความเกิดเป็นทุกข์  เป็นเหตุให้รู้ไม่มีเหตุไม่มีผล  ถึงได้ชื่อว่ามรรคสี่ ผลสี่ นิพพานหนึ่ง เรียกว่านิพพานังปรมังสูญญัง  เรียกว่า  “นิพพานหนึ่ง”  ละตัณหาได้เหลืออยู่แต่ธาตุกับเบญจขันธ์ถึงได้เรียกว่า  “นิพพานังประมังสูญญัง”  เมื่อธาตุแตกอันตราย  ธาตุไฟ-ธาตุลม  หมดไปจากร่างกายเวทนาหายแล้ว  เบญจขันธ์ก็ดับสูญไปก็คงเหลืออยู่แต่ “นิพพานังปรมังสุขขัง”  เป็นสุขอย่างยิ่ง  จบธรรมวินัยโดยย่อเท่านี้

 

เวลา..วันที่..ขณะนี้...

 

 

Created on..............: Sat, Jul 13, 2002

ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลครั้งหลังสุด  23/10/2562 10:36:58

ติดต่อผู้ดูแล web:  webmaster@luangpochom.com

luangpochom